หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอานนท์ เขมทตฺโต (วัฒนสุวรรณ)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๖ ครั้ง
ความคิดเห็นของครูและนักเรียนที่มีต่อบทบาทพระสอนธรรมศึกษาในโรงเรียน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี
ชื่อผู้วิจัย : พระอานนท์ เขมทตฺโต (วัฒนสุวรรณ) ข้อมูลวันที่ : ๒๖/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  อาจารย์ ดร.พิเชฐ ทั่งโต พ.ม.ช., พธ.บ., M.A., Ph.D. (Public. Admint.)
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ ผศ., ป.ธ.๗, พธ.บ., ศศ.ม. (พัฒนาสังคม), รป. ม. (การจัดการความขัดแย้ง)
  ผศ.ดร.ธัชชนันท์ อิศรเดช พธ.บ., M.A., Ph.D. (Pol.Sc.)
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

 

 

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูและนักเรียนที่มีต่อบทบาทพระสอนธรรมศึกษาในโรงเรียน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูและนักเรียนที่มีต่อบทบาทพระสอนธรรมศึกษาในโรงเรียน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะของครูและนักเรียนที่มีต่อบทบาทพระสอนธรรมศึกษาในโรงเรียน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ดำเนินการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็น ครู และนักเรียน ในโรงเรียนวัดพิกุลเงิน และโรงเรียนสตรีนนทบุรีบางใหญ่ (นนทกิจพิศาล) กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ๓๐๗ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบ่งเป็น ๓ ตอน คือ ตอนที่ ๑ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ ๒ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นของครูและนักเรียนที่มีต่อบทบาทพระสอนธรรมศึกษาในโรงเรียน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี และตอนที่ ๓ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความคิดเห็นของครูและนักเรียนที่มีต่อบทบาทพระสอนธรรมศึกษาในโรงเรียน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี โดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ ๐.๙๔๕๘ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการอธิบายลักษณะข้อมูลทั่วไป เพื่อทดสอบสมมุติฐานระหว่างตัวแปรที่ทำการศึกษาว่า มีความสัมพันธ์กันหรือไม่ โดยการใช้สถิติไคสแควร์ (Chi-Square) ที่ระดับนัยสำคัญ ๐.๐๕

    

ผลการวิจัย พบว่า

                   ๑. ความคิดเห็นของครูและนักเรียนที่มีต่อบทบาทพระสอนธรรมศึกษาในโรงเรียน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี โดยภาพรวมครู มีความคิดเห็นต่อบทบาทพระสอนธรรมศึกษาในโรงเรียนอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรีโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (= ๔.๓๙, S.D= ๐.๓๙) และเมื่อพิจารณาแต่ละด้าน  พบว่า ครูมีความคิดเห็นต่อบทบาทพระสอนธรรมศึกษา ที่ค่าเฉลี่ยสูงสุด (=๔.๕๑, S.D= ๐.๓๒) ด้านการใช้อุปกรณ์การสอน ส่วนค่าเฉลี่ยต่ำสุด (=๔.๔๒, S.D= ๐.๓๙) ด้านการใช้วิธีการสอน             สำหรับนักเรียนมีความคิดเห็นต่อบทบาทพระสอนธรรมศึกษาในโรงเรียนอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี โดยภาพอยู่ในระดับมาก (=๔.๓๖, S.D= ๐.๓๖) และเมื่อพิจารณาแต่ละด้าน  พบว่านักเรียนมีความคิดเห็นต่อบทบาทพระสอนธรรมศึกษา  ที่ค่าเฉลี่ยสูงสุด (= ๔.๕๖, S.D= ๐.๓๙) ด้านการใช้อุปกรณ์การสอน ส่วนค่าเฉลี่ยต่ำสุด (=๔.๒๑, S.D= ๐.๒๗)  ด้านการใช้วิธีการสอน

                  ๒. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูและนักเรียนที่มีต่อบทบาทพระสอนธรรมศึกษาในโรงเรียนอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ในด้านการใช้อุปกรณ์การสอน, ด้านการสร้างบรรยากาศในห้องเรียน และด้านการใช้วิธีการสอนไม่แตกต่างกัน จึงไม่เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้

      ๓. ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะของครูและนักเรียนที่มีต่อบทบาทพระสอนธรรมศึกษาในโรงเรียน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี คือ สิ่งจูงใจที่เป็นและไม่เป็นปัจจัยค่าตอบแทนนั้นน้อยเกินไป ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย ความอิสระในการปฏิบัติงานนั้น ถูกจำกัดเวลามากเกินไป ส่วนนโยบายและการบริหารนั้น ผู้บริหารการศึกษาขาดการสนับสนุน ด้านการยอมรับนับถือ ครูอาจารย์เห็นว่าพระที่มาสอน อดีตเคยเป็นนักเรียนของตน จึงไม่มีการยอมรับอย่างแท้จริงและขาดการประสานงานระหว่างผู้บริหาร คณะครูอาจารย์และนักเรียนไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร สื่อการเรียนการสอนไม่เพียงพอ และขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอน ครูและพระสงฆ์ขาดการแลกเปลี่ยนเทคนิคการสอน การผลิตสื่อ ซึ่งพระสอนศีลธรรมมีความตั้งใจอย่างมาก แต่นักเรียนไม่เห็นความสำคัญเท่าที่ควร และปัญหาอีกประการหนึ่งคือ ขาดการวางแผนการเรียนการสอน การจัดตารางเรียนและการประเมินผล

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕