หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูโสภณกิจวิบูล (สุรพล สุรพโล)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๗ ครั้ง
การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของวัดพัฒนาตัวอย่างในจังหวัดนครปฐม
ชื่อผู้วิจัย : พระครูโสภณกิจวิบูล (สุรพล สุรพโล) ข้อมูลวันที่ : ๑๐/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  อาจารย์พระมหาสม กลฺยาโณ, ป.ธ.๕, พธ.บ., M.S.W., Ph.D.
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ ผศ., ป.ธ.๗, พธ.บ., ศศ.ม. (พัฒนาสังคม), รป. ม. (การจัดการความขัดแย้ง)
  ผศ.ดร. เติมศักดิ์ ทองอินทร์ ปก.ศ., พธ.บ., M.A., Ph.D. (Pol.Sc.)
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

         

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาแนวคิดและรูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามหลักพระพุทธศาสนา (๒) เพื่อศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ในการจัดการสิ่งแวดล้อมตามหลักพระพุทธศาสนา และ (๓) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของเจ้าอาวาสในจังหวัดนครปฐม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีการรวบรวมเอกสารวิชาการ พระไตรปิฏก และศึกษาวิจัยภาคสนาม โดยอาศัยข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) กับเจ้าอาวาส วัด และเจ้าคณะจังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย

 

ผลการวิจัยพบว่า

          ๑. พระพุทธเจ้าทรงดำรงชีพเกี่ยวเนื่องกับธรรมชาติมาโดยตลอด เห็นได้จากพระองค์ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน และสถานที่แสดงธรรมล้วนอยู่ในป่า สถานที่พำนักของพระพุทธเจ้าและพระสาวก คือ ป่า ภูเขา โคนไม้ ถ้ำ ป่าช้า และยังมีข้อปฏิบัติสำหรับอยู่ป่าให้เหมาะสมอีก  เมื่อการดำเนินชีวิตมีความเกี่ยวเนื่องกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างแยกจากกันมิได้ พระองค์ทรงมองเห็นประโยชน์และความสำคัญของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงได้ทรงวางรูปแบบการปฏิบัติตามพระธรรมวินัยให้พระสงฆ์สาวกศึกษาและปฏิบัติให้สอดคล้องกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          ๒. บทบาทที่สำคัญของพระสงฆ์คือการสืบทอดพระพุทธศาสนา มีหน้าที่อบรมสั่งสอนประชาชน โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ให้เข้ากับวิถีการดำเนินชีวิต ดังจะ เห็นได้จากการพัฒนาความเจริญต่าง ของท้องถิ่น  มักจะมีพระสงฆ์เป็นแกนนำ เพราะวิถีชีวิตของพระสงฆ์มีความเป็นอยู่เรียบง่าย สามารถปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติและอยู่กับธรรมชาติได้อย่างกลมกลืนเป็นอย่างดี

๓. ในมุมมองของเจ้าคณะจังหวัดและเจ้าอาวาสที่ให้สัมภาษณ์ ท่านใช้วิธีการบริหารจัดการตามหลักการของอดีตเจ้าอาวาส และประสบการณ์ที่ได้ประสบมา เป็นวิธีการในการบริหารจัดการ คือ การดูแล ซ่อมแซม รักษาสิ่งที่มีอยู่ให้คงสภาพที่จะใช้งานได้ หรือสร้างใหม่เพื่อทดแทนของเก่าที่หมดสภาพไปตามกาลเวลา แต่ยังคงไว้ซึ่งรูปแบบและสถาปัตยกรรมที่มีอยู่เก่าก่อน หรืออาจเป็นแบบไทยประยุกต์เพื่อเป็นการอนุรักษ์รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีคุณค่า เพื่อเป็นมรดกสู่ชนรุ่นหลัง

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕