หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสมุห์อนุรักษ์ ธีรสกฺโก (ช้างเมือง)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๑ ครั้ง
การพัฒนาวัดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธในจังหวัดสมุทรสาคร
ชื่อผู้วิจัย : พระสมุห์อนุรักษ์ ธีรสกฺโก (ช้างเมือง) ข้อมูลวันที่ : ๑๐/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุรพล สุยะพรหม, ป.ธ.๔, พ.ม., พธ.ม., M.A., Ph. D. (Pol. Sc.)
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ ผศ., ป.ธ.๗, พธ.บ., ศศ.ม. (พัฒนาสังคม),รป. ม. (การจัดการความขัดแย้ง)
  อาจารย์ ดร. ยุทธนา ปราณีต พธ.บ. (รัฐศาสตร์), ร.บ., M.A. (Politics), Ph.D. (Pol.Sc.)
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้  ๑) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาวัดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธในจังหวัดสมุทรสาคร ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาวัดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธในจังหวัดสมุทรสาคร  โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล  และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา  อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการพัฒนาวัดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธในจังหวัดสมุทรสาคร  ดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)ซึ่งศึกษากับกลุ่มประชาชนที่มาท่องเที่ยววัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรสาคร  จำนวน ๔๐๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบ่งเป็น    ตอน  คือ ตอนที่ ๑ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ ๒ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาวัดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธในจังหวัดสมุทรสาคร และ ตอนที่ ๓ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของประชาชนเกี่ยวกับการพัฒนาวัดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ(F-test) โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One  way  Anova) ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD (Least Significant Difference)

 

ผลการวิจัย  พบว่า

๑. ระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาวัดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธในจังหวัดสมุทรสาคร  พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาวัดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธในจังหวัดสมุทรสาคร  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับได้ดังนี้  ๑.ด้านการพัฒนากิจกรรมภายในวัด  ๒.ด้านการพัฒนาศาสนสถาน  ๓.ด้านการพัฒนาศาสนบุคคลหรือบุคลากรในวัด และ ๔.ด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อม 

๒. การวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชน  ที่มีต่อการพัฒนาวัดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธในจังหวัดสมุทรสาคร โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล โดยภาพรวม   ประชาชนที่มีเพศและจำนวนครั้งในการมาท่องเที่ยววัด ที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาวัดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธในจังหวัดสมุทรสาคร  ไม่แตกต่างกัน  ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้   ส่วนประชาชนที่มีอายุ วุฒิการศึกษา อาชีพและรายได้ ที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาวัดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธในจังหวัดสมุทรสาคร แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑  ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้

  ปัญหาส่วนใหญ่ในการพัฒนาวัด คือ ปัญหาเกี่ยวกับความสะอาด  ขยะมูลฝอย  มูลสุนัข มูลนก ห้องน้ำห้องสุขาไม่ค่อยสะอาด  มีต้นไม้น้อยไม่ค่อยร่มรื่น เจ้าหน้าที่ของทางวัดที่ทำความสะอาด หรือทำงานในจุดต่างๆ  มีน้อย ทั้งยังแต่งกายไม่ค่อยสุภาพ และปัญหาในเรื่องของกิจกรรมในวัดซึ่งมีการประชาสัมพันธ์น้อย  จัดไม่ตรงกับวันหยุด จึงทำให้ไม่ทราบเรื่องและไม่สะดวกในการมาร่วมกิจกรรม     

ข้อเสนอแนะในการพัฒนาวัดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธ  ควรมีการจัดเจ้าหน้าที่ทำความสะอาดและเจ้าหน้าที่ประจำในจุดต่างๆ ให้มากขึ้น และแต่งกายให้เรียบร้อย  ในเรื่องการพัฒนาศาสนสถาน หากมีการสร้างใหม่ควรมีการคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก มีการวางผังใหม่ให้ดี มีการปลูกต้นไม้ให้มากขึ้น  เพื่อให้เกิดความร่มรื่นและเป็นการทำให้ภูมิทัศน์ของวัดสวยงาม  น่ารื่นรมย์ การจัดกิจกรรมต่างๆ ต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง และมีการบริหารจัดการในด้านต่างๆ ของวัดให้สมบูรณ์  เพราะหากวัดมีความพร้อมในการรองรับประชาชนที่มาวัดแล้ว  ย่อมทำให้ประชาชนมาวัดแล้วเกิดศรัทธา เกิดความยินดี เกิดความสุขใจ มาทำบุญ ทำกุศลต่างๆ  พร้อมทั้งการมาพักผ่อนหย่อนใจในรูปแบบของการท่องเที่ยวเชิงพุทธได้

          ดาวน์โหลด          

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕