หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูปลัดสุรศักดิ์ วิริยธโร (คงรักษา)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๗ ครั้ง
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักเบญจศีลและเบญจธรรม
ชื่อผู้วิจัย : พระครูปลัดสุรศักดิ์ วิริยธโร (คงรักษา) ข้อมูลวันที่ : ๑๐/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุรพล สุยะพรหม, ป.ธ.๔, พ.ม., พธ.ม., M.A., Ph. D. (Pol. Sc.)
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ ผศ., ป.ธ.๗, พธ.บ., ศศ.ม. (พัฒนาสังคม),รป. ม. (การจัดการความขัดแย้ง)
  อาจารย์ ดร. ยุทธนา ปราณีต พธ.บ. (รัฐศาสตร์), ร.บ., M.A. (Politics), Ph.D. (Pol.Sc.)
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ
 
            งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้  : (๑) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (๒) เพื่อศึกษาหลักเบญจศีล เบญจธรรม ในพระพุทธศาสนา และ (๓) เพื่อศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักเบญจศีล เบญจธรรม ผลการวิจัยพบว่าทรัพยากรมนุษย์ตามทฤษฎีตะวันตกมีความหมายว่า มนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญที่มีศักยภาพในการเรียนรู้ มีค่าสูงสุดในการพัฒนาองค์การ องค์การจะประสบความสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับทรัพยากรมนุษย์ ส่วนในทางพระพุทธศาสนา หมายถึงการเป็นผู้ฝึกตนตามหลักศีลธรรม พระพุทธเจ้าทรงฝึกพระองค์เองได้อย่างประเสริฐแล้วทรงฝึกผู้อื่น ตามบุคคลผู้ฝึกตนจะสามารถพัฒนาตนให้เป็นผู้มีคุณธรรมและศีลธรรมในการดำเนินชีวิต โดยนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม ทำให้เกิดประสิทธิภาพ หลักธรรมดังกล่าวได้แก่ เบญจศีล คือ ศีล ๕ เมื่อปฏิบัติตามศีล ๕ ถือว่าเป็นผู้มีศีล ส่วนคำว่าเบญจธรรมมีความหมายเดียวกับ ‘กัลยาณธรรม’ หมายถึง ธรรม ๕ ประการ ที่ดี สะอาด เพราะกำจัดธรรมที่ไม่สะอาด คือราคะ โทสะ โมหะได้ เป็นคุณธรรมคู่กับเบญจศีล ถ้าบุคคลถือปฏิบัติศีล ๕ ต้องปฏิบัติเบญจธรรมด้วย เบญจศีลเป็นข้อที่ควรงดเว้น ส่วนเบญจธรรมเป็นข้อควรปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความสงบสุข สามัคคี เอื้อเฟื้อต่อกัน นับเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ยั่งยืน 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕