หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาเพชร ติสฺสวโร (หว่าจังหรีด)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๗ ครั้ง
พุทธวิธีในการแก้ปัญหาครอบครัวตามหลักทิศ ๖ : ศึกษากรณี ชุมชนบ้านชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น (๒๕๕๔)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาเพชร ติสฺสวโร (หว่าจังหรีด) ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๐๗/๒๐๑๒
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูภาวนาโพธิคุณ, ดร.
  พระมหาประมวล ฐานทตฺโต
  ผศ.ดร. โสวิทย์ บำรุงภักดิ์
วันสำเร็จการศึกษา : 2554
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาครอบครัวในเขตชุมชนบ้านชุมแพ  และพุทธวิธีในการแก้ปัญหาครอบครัวตามหลักทิศ ๖ ของชุมชนบ้านชุมแพ  ผลจากการวิจัยพบว่า

                  สภาพปัญหาครอบครัวของชุมชนบ้านชุมแพส่วนใหญ่ปัญหาเกิดจากความยากจน  และถึงปัจจุบันจึงทำให้ครอบครัวที่ยากจนลำบากมากขึ้น เพราะความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจค่าครองชีพสูงเพิ่มขึ้น ครอบครัวที่ยากจนจึงมีปัญหาตามมาคือ หนี้สิน ทำให้คนในครอบครัวเกิดความเครียดทะเลาะวิวาท หาทางออกไม่ได้ก็ดื่มเหล้า เป็นการเพิ่มปัญหาขึ้นมาอีก ส่วนครอบครัวที่มีความเป็นอยู่ฐานะดี ก็มีปัญหาเรื่องการเล่นพนัน ชอบเที่ยว ชอบกิน ทำให้สามีหรือภรรยานอกใจซึ่งกันและกัน ซึ่งทำให้เกิดการทะเลาะวิวาทจนตกลงกันไม่ได้สุดท้ายก็คือแยกทาง  ส่วนครอบครัวที่พออยู่พอกิน มีจิตใจอยู่ในศีลธรรม  เห็นใจซึ่งกันและกันมีความรักต่อกัน ตั้งใจทำมาหากินด้วยความสุจริตครอบครัวก็อบอุ่นอยู่เป็นสุข แต่ในขณะที่โลกกำลังพัฒนาไปสู่ยุคข่าวสารข้อมูล ทำให้เกิดการเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ขาดความเคารพนับถือและการทำหน้าที่ของพ่อแม่ลูกตามแบบวิถีไทยวิถีพุทธ เช่น ลูกไม่เชื่อฟังพ่อแม่ ขาดความอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่  จึงมีแนวโน้มก่อให้เกิดปัญหาขัดแย้ง แตกแยกภายในครอบครัว  ความไม่เข้าใจกัน ขาดความอดทนอดกลั้น  เอาแต่ใจตัวเองเป็นใหญ่ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนในครอบครัว  และมีค่านิยมในทางที่ผิด  มีความต้องการสิ่งที่ขัดต่อพื้นฐานวัฒนธรรมแบบพุทธ 

                  ด้านการแก้ปัญหาครอบครัวของชุมชนบ้านชุมแพได้นำหลักธรรมเรื่องทิศ ๖ มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตครอบครัวโดยกำหนดบทบาทและหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัวไว้ ๕ ประการ คือ การวางแผน  การจัดการ  การบริหาร  การสั่งการและการควบคุม  โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ครอบครัวได้เข้าถึงประโยชน์ ๓ ประการ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน  ประโยชน์ในเบื้องหน้า และประโยชน์สูงสุด  ซึ่งมีจุดมุ่งหมายให้บุคคลในครอบครัวได้ประสพกับความสุขทั้งในด้านชีวิตส่วนตัว  ครอบครัว ชุมชน และสังคม มีเหตุผลในการดำเนินชีวิตเพื่อให้มีความสงบสุขที่ยั่งยืนตามหลักพระพุทธศาสนาต่อไป

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕