หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสุริยนต์ ทสฺสนีโย (น้อยสงวน)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๔ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์ บิณฑบาตในฐานะเป็นเครื่องมือหนุนชีวิตและกุศโบายในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา (๒๕๕๔)
ชื่อผู้วิจัย : พระสุริยนต์ ทสฺสนีโย (น้อยสงวน) ข้อมูลวันที่ : ๒๕/๐๗/๒๐๑๒
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูปริยัติยานุศาสน์, ดร.
  ผศ. ดร. สรเชต วรคามวิชัย
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2554
 
บทคัดย่อ

งานวิทยานิพนธ์ฉบับนี้  คือ  เพื่อศึกษาวิเคราะห์  การบิณฑบาตในฐานะเป็นเครื่องมือหนุนชีวิตและกุศโลบายในการ เผยแผ่พระพุทธศาสนา มีวัตถุประสงค์  ๓ ประการ  ในด้านความเป็นมาของการบิณฑบาต  วัฒนธรรมการบิณฑบาต  และวิเคราะห์การบิณฑบาตในฐานะเป็นเครื่องมือหนุนชีวิตและกุศโลบายในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  มีความสำคัญ และจุดมุ่งหมาย  ผลการศึกษาวิจัยพบว่า

                บิณฑบาต  หมายถึง  การตกลงแห่งก้อนข้าว  อาหารที่ใส่ลงในบาตรของพระสงฆ์  มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง  เพราะเป็นวิถีในการดำรงชีวิตความเป็นอยู่ของพระสงฆ์  สามเณรนั้นขึ้นอยู่กับอาหารบิณฑบาต  การบิณฑบาตจึงมีความสำคัญในฐานะเป็นกรณียกิจ  คือ  กิจที่พระภิกษุสามเณรพึงกระทำเป็นกิจวัตรประจำวัน  เป็นพุทธวงศ์  คือ  พระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต  ต่างก็มีวิถีชีวิตที่อาศัยอาหารบิณฑบาตจากผู้อื่นเลี้ยงชีพ  เป็นพุทธกิจ  คือ  กิจที่พระพุทธเจ้าทรงปฏิบัติเป็นประจำทุกวัน  เพื่อโปรดสรรพสัตว์  เป็นการเลี้ยงชีพที่บริสุทธิ์สำหรับบรรพชิต  และการสมาทานบิณฑบาตเป็นวัตร  จัดเป็นธุดงค์ที่ช่วยขัดเกลากิเลสให้ลดน้อยลง  บาตรเป็นบริขารในปัจจัยสี่  บาตรมีก่อนพุทธกาลโดยใช้ผลน้ำเต้า  หรือเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ขนาดใหญ่ที่แห้ง  ดินเผา กะโหลกผี  เป็นต้น  ของนักบวชสันยาสี  เพื่อใช้รับอาหาร  ท้าวฆฏิการมหาพรหมถวายบริขารต่อพระพุทธองค์  มีบาตรอยู่ด้วยเป็นใบแรกในพระพุทธศาสนา

                  วัฒนธรรมในการบิณฑบาตของพระสงฆ์นั้น   คือ  การบิณฑบาตที่เป็นกิจวัตรประจำวันของพระสงฆ์  สามเณร  จึงเป็นระเบียบประเพณีที่ดีงามของชาวพุทธที่ตอนเช้าตื่นขึ้นมาได้ทำบุญให้ทานเป็นวัฒนธรรมที่ดีงามอย่างพุทธ  และวัฒนธรรมของพระสงฆ์  สามเณร  ก่อนออกบิณฑบาตจะต้องตรวจตราความเรียบร้อย  มีความว่า ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต  เมื่อจะเข้าหมู่บ้าน  พึงนุ่งห่มให้เรียบร้อย  และปฏิบัติตนตามเสขิยวัตร  คือ  การนุ่งห่มให้ได้ปริมณฑลอย่านุ่งผ้าแบบโจงกระเบน  นุ่งปล่อยชายเหมือนงวงช้าง  เหมือนหางปลา  นุ่งปล่อยชายสี่แฉก  คล้ายยกกลีบตาลตั้งร้อย  หากนุ่งเป็นเช่นนั้น  ทรงปรับอาบัติทุกกฎผู้ที่ล่วงละเมิด  มีบทบัญญัติในสถานที่ที่ไม่ให้เข้าไปบิณฑบาต  เรียกว่าที่  อโคจร  ที่เป็นต้องห้ามและกิริยามารยาทจะต้องสำรวมระวัง  เพื่อจะยังความศรัทธาให้เลื่อมใสเกิดแก่อุบาสก  อุบาสิกา   และเอื้อเฟื้อต่อพระวินัย  การรับอาหารบิณฑบาตก็รับแต่พอดี  และพึงสำเหนียกว่า  เราจักรับบิณฑบาตด้วยความเคารพ  รับอาหารตามพุทธานุญาต  และฉันอาหารด้วยความเคารพ  ไม่ดูหมิ่นดู แคลนอาหารที่รับมาจากญาติโยม  เป็นการฝึกพัฒนาตน

                บิณฑบาตในฐานะเป็นกุศโลบายในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  มีจุดมุ่งหมายในการเผยแผ่อยู่    ด้าน  คือ  ๑)  ด้านอัตตประโยชน์  ได้แก่ประโยชน์ต่อภิกษุสามเณรเองมี    ประการ  คือ (๑)  เพื่อการดำรงชีพ  (๒)  เพื่อพัฒนากาย  ให้แข็งแรง  และให้มีกายสงบสำรวมมีความสง่างาม  (๓) เพื่อพัฒนาจิต  คือ  เกื้อหนุนพัฒนาจิตให้มีสมาธิ  มีสติสัมปชัญญะและมีความสันโดษ  (๔)  เพื่อพัฒนาปัญญา  คือ  รู้คุณค่าอาหาร  ละการสะสม  และรู้จักปล่อยวาง  ๒)  ด้านปรัตถประโยชน์  คือ  ประโยชน์ที่เกิดขึ้นแก่ผู้อื่น  มี    ประการ  (๑)  เพื่อแสดงธรรมโปรดชาวบ้าน  เป็นหน้าที่เป็นการอนุเคราะห์ชาวบ้านให้มีความรู้ในการดำเนินชีวิต  (๒)  เพื่อส่งเสริมชาวบ้านบำเพ็ญบุญ ให้ทานลดความตระหนี่  เพื่อความสุขในปัจจุบัน  และก่อบุญเพิ่มกุศลในภพหน้า  ๓)  ด้านศาสนประโยชน์  ได้แก่  ประโยชน์ในทางศาสนามี    ประการ  คือ  (๑)  เพื่อสืบทอดพระวินัย  โดยการประพฤติปฏิบัติตามสิกขาบทที่ทรงบัญญัติเอาไว้  เพื่อความสำรวมและความผาสุกของหมู่สงฆ์   (๒)  เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  เพราะการบิณฑบาตเป็นการออกประกาศพระศาสนาทั้งทางตรงทางอ้อม  มีโอกาสแสดงธรรมให้ประชาชน  ละการทำชั่ว  ตั้งอยู่ในความดี  ทำจิตให้บริสุทธิ์ผ่องใส

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕