หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหากิตติศักดิ์ กิตฺติวฑฺฒโน (ช่างทอง)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๐ ครั้ง
ศึกษาวิเคราะห์มัจฉริยะในพระพุทธศาสนาเถรวาท (๒๕๕๔)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหากิตติศักดิ์ กิตฺติวฑฺฒโน (ช่างทอง) ข้อมูลวันที่ : ๒๕/๐๗/๒๐๑๒
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเมธีธรรมาลังการ (ประยุทธ ภูริทตฺโต), ผศ.ดร.
  ดร.วิกานดา ใหม่เฟย
  ดร.วรรณา มังกิตะ
วันสำเร็จการศึกษา : 2554
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้   มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับความหมาย ประเภท ลักษณะของมัจฉริยะ สาเหตุของการเกิดมัจฉริยะ และวิธีกำจัดมัจฉริยะตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท

        การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร  ผลการศึกษาพบว่า  มัจฉริยะในพระพุทธศาสนาเถรวาท  หมายถึง  อารมณ์ที่เกิดขึ้นกับจิตใจของบุคคลใดบุคคลหนึ่งทำให้เกิดความตระหนี่ หวงแหน ไม่มีความเอื้อเฟื้อต่อคนอื่น

        มัจฉริยะ มี ๕ ประเภท ได้แก่ ความตระหนี่ในอาวาส คือ ความหวงแหนที่พักอาศัย ความตระหนี่ตระกูล คือ ความหวงแหนในตระกูลอุปฐาก ความตระหนี่ในลาภ คือ ความหวงแหนในลาภสักการะของตนไม่แบ่งปันให้ผู้อื่น ความตระหนี่ในวรรณะ คือ ความหวงแหนในเรื่องของคุณความดี ที่ตนมีไม่อยากให้ผู้อื่นมีเหมือนตน ความตระหนี่ในธรรม คือ ความหวงแหนวิชาความรู้ที่ตนมีอยู่ไม่ยอมสอนให้ผู้อื่น มัจฉริยะ มีความกระด้าง และเหนียวแน่เป็นลักษณะ

                        สาเหตุของการเกิดมัจฉริยะ คือ โลภะ โทสะ และโมหะ เป็นที่อาศัยของกิเลสตัณหาเป็นหลักธรรมฝ่ายอกุศล เมื่อบุคคลประพฤติจะทำให้บุคคลนั้นเป็นผู้ที่มีจิตใจคับแคบเห็นแก่ตัวสนใจแต่ผลประโยชน์ของตนมากกว่าประโยชน์ของส่วนรวมเป็นอาการของผู้ที่มีความตระหนี่   

                           การกำจัดมัจฉริยะต้องใช้หลักธรรมในการกำจัดเพราะมัจฉริยะเป็นสิ่งที่เกิดภายในจิตใจยึดมั่นถือมั่นในทรัพย์สินที่มีค่าของตน ขั้นตอนในการกำจัดต้องพัฒนากาย วาจา ใจ ของตนให้มีความคิดดี พูดดี และทำดี สร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นกันตนและผู้อื่น เป็นพื้นฐานของการกระทำสิ่งที่ดีมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตร่วมกันในสังคมมนุษย์ เพราะฉะนั้นหลักธรรมนี้จะช่วยพัฒนาให้บุคคลเป็นคนดีในสังคม มีจิตใจที่กว้างขวางมีน้ำใจ ไม่คับแคบ ตั้งตนอยู่ในศีลธรรมอันเป็นแนวทางของการปฏิบัติของผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาสืบต่อไป

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕