หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระลิขิต ทินฺนปญฺโญ (เมืองจันทร์)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๙ ครั้ง
การวิเคราะห์รูปแบบการใช้จีวรที่เกื้อกูลการประพฤติพรหมจรรย์ของภิกษุในพระพุทธศาสนาเถรวาท (๒๕๕๔)
ชื่อผู้วิจัย : พระลิขิต ทินฺนปญฺโญ (เมืองจันทร์) ข้อมูลวันที่ : ๒๓/๐๗/๒๐๑๒
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาวิรัต โสภณสีโล ดร.
  ผศ.ดร.สรเชต วรคามวิชัย
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2554
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ที่เพื่อศึกษา  แนวความคิดเรื่องจีวร  รูปแบบการใช้จีวร และ วิเคราะห์รูปแบบการใช้จีวรที่เกื้อกูลการประพฤติพรหมจรรย์ของภิกษุในพระพุทธศาสนาเถรวาท  วิธีดำเนินการวิจัย ศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พระไตรปิฎก  คัมภีร์อรรถกถา  ตำรา เอกสารทางวิชาการ  และรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า

                      ๑. แนวความคิดเรื่องจีวรของภิกษุในพระพุทธศาสนาเถรวาท  พบว่า ความหมายของจีวร หมายถึง ผ้าที่ใช้นุ่งห่มของพระภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา  ผืนใดผืนหนึ่ง  ในจำนวน    ผืน เรียกว่า อุตตราสงค์ ความสำคัญของจีวร เพื่อใช้ปกปิดร่างกาย ใช้ป้องกันความหนาวและความร้อน   ใช้ปกปิดอวัยวะที่ให้เกิดความละอาย ป้องกันอันตรายจากสัตว์เลื้อยคลาน  เหลือบยุง  และ แมลง ต่าง ๆ ทั้งหลายที่มารบกวนขณะประพฤติพรหมจรรย์   พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติมิให้พระภิกษุนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์ จึงทรงอนุญาตผ้าที่ใช้สำหรับห่มคือจีวร เรียกว่า อุตตราสงค์  และทรงอนุญาตให้ใช้ รังดุม คือ ช่องที่เจาะสำหรับขัดลูกดุม และ ลูกดุม เป็นส่วนประกอบของจีวรได้ การบัญญัติเช่นนี้ก็เพื่อให้พระภิกษุมีชีวิตที่เรียบง่าย  ให้ปล่อยวาง ไม่ยึดติด  ให้เป็นผู้สันโดษ และ เกื้อกูลต่อการประพฤติพรหมจรรย์

                     ๒. รูปแบบการใช้จีวรของภิกษุในพระพุทธศาสนาเถรวาท พบว่า พระพุทธเจ้ามีบทบัญญัติเกี่ยวกับจีวรเพื่อให้พระภิกษุมีระเบียบแบบแผนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  รูป  แบบการใช้ จีวรของพระภิกษุในพระพุทธศาสนาเถรวาท พบว่ามีรูปแบบการใช้เปลี่ยนแปลงไปตามภูมิประเทศต่าง ๆ แต่ยังคงรูปแบบของการตัดเย็บจีวรแบบดั่งเดิมเอาไว้  ให้คงอยู่จนถึงปัจจุบัน  มีเพียงการย้อมสีของจีวรเท่านั้นที่เปลี่ยนไป รูปแบบการใช้จีวรดังกล่าวก็เพื่อให้เป็นการเกื้อกูลการประพฤติพรหมจรรย์ของพระภิกษุในพระพุทธศาสนาเป็นหลักสำคัญ

                ๓. การวิเคราะห์จีวรที่เกื้อกูลการประพฤติพรหมจรรย์ของภิกษุในพระพุทธศาสนา พบว่า  การใช้จีวรได้ก่อให้เกิดการเกื้อกูลการประพฤติพรหมจรรย์ของภิกษุในพระพุทธศาสนา หลายด้าน คือ พระภิกษุได้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย  ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้พระพุทธศาสนาตั้งอยู่ได้นาน  เกิดความผาสุกแก่หมู่คณะ  เพื่อให้เกิดอัตตัตถะประโยชน์ คือ ประโยชน์ที่เกิดกับตัวของพระภิกษุสงฆ์เอง ได้แก่  ใช้ปกปิดร่างกาย ใช้ป้องกันความหนาวและความร้อน   ใช้ปกปิดอวัยวะที่ให้เกิดความละอาย ป้องกันอันตรายจากสัตว์เลื้อยคลาน  เหลือบยุง  และ แมลง ต่าง ๆ ทั้งหลายที่มารบกวนขณะประพฤติพรหมจรรย์     เพื่อให้เกิดปรัตถะประโยชน์   เพื่อฉลองศรัทธาปสาทะของทายกผู้ถวายจีวร  และสร้างความเป็นระเบียบให้เกิดแก่หมู่คณะ สร้างศรัทธาปสาทะ ให้เกิดขึ้นกับผู้ที่ได้พบเห็น อุภยัตถะประโยชน์ คือ เพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งสองฝ่าย  ได้แก่  ฝ่ายพระภิกษุก็ได้รับประโยชน์ คือใช้ปกปิดร่างกาย ใช้ป้องกันความหนาวและความร้อน   ใช้ปกปิดอวัยวะที่ให้เกิดความละอาย ป้องกันอันตรายจากสัตว์เลื้อยคลาน  เหลือบยุง  และ แมลง ต่าง ๆ  และฝ่ายบุคคลอื่น ๆ ก็ได้รับประโยชน์ คือ ได้เห็นความเป็นระเบียบ เกิดศรัทธาความเลื่อมใสในหมู่พระภิกษุสงฆ์เพิ่มมากขึ้น

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕