หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางณัฐ จันทร์หนูหงษ์
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๑ ครั้ง
ศึกษาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ - ๖โรงเรียนสีกัน (วัฒนานันท์อุปถัมภ์) เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร (๒๕๕๔)
ชื่อผู้วิจัย : นางณัฐ จันทร์หนูหงษ์ ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๐๗/๒๐๑๒
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาทวี มหาปญฺโญ (ละลง) ผศ.ดร.
  พล.ท.ดร.วีระ วงศ์สรรค์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2554
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖ โรงเรียนสีกัน(วัฒนานันท์อุปถัมภ์) เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์คือ  ๑) เพื่อศึกษา ระดับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียน   ๒)  เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียน และ ๓) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการปลูกฝังและพัฒนาจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ๖ โรงเรียนสีกัน (วัฒนานันท์อุปถัมภ์) เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร

ดำเนินการวิจัยโดยวิจัยจากกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖ โรงเรียนสีกัน(วัฒนานันท์อุปถัมภ์) เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร จำนวน ๓๔๐ คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ตัวแปรทางเดียว และเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยของ LSD’ Method

   ผลการวิจัยพบว่า

๑. นักเรียนผู้ที่มีระดับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก(=.๖๘)  

เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน คือ ด้านความมีระเบียบวินัย และด้านความรับผิดชอบ อยู่ในระดับมาก

(=.๘๖ -.๘๔) รองลงมาคือด้านความขยันหมั่นเพียร อยู่ในระดับปานกลาง (=.๒๘)

ดังนั้นพฤติกรรมจริยธรรมด้านความมีระเบียบวินัยและด้านความรับผิดชอบมีค่าเฉลี่ยสูง

๒. นักเรียนที่มีเพศและอายุต่างกัน มีผลต่อการพัฒนาทางจริยธรรมไม่แตกต่างกัน       ส่วนนักเรียนที่มีระดับการศึกษา  และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่แตกต่างกันมีผลต่อการพัฒนาทางจริยธรรมที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕  นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาจริยธรรมกับโรงเรียนของนักเรียนที่ต่างกัน มีผลต่อการพัฒนาทางจริยธรรมที่ไม่แตกต่างกัน  นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการเข้าค่ายคุณธรรมพัฒนาจิตกับโรงเรียนของนักเรียนที่ต่างกัน มีผลต่อการพัฒนาทางจริยธรรมที่แตกต่างกัน และนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนของนักเรียนที่ต่างกัน มีผลต่อการพัฒนาทางจริยธรรมที่ไม่แตกต่างกัน

              ๓. ข้อเสนอแนะแนวทางการปลูกฝัง และพัฒนาจริยธรรมของนักเรียน พบว่าส่วนใหญ่ที่นักเรียนต้องการคือ  ต้องการให้ลดกฎระเบียบลง   รองลงมาคือการคัดเลือกเด็กมาอยู่ห้อง ๑   ควรดูนิสัยและพฤติกรรม  ต้องการให้ครูจัดกิจกรรมเล่นกีฬา และต้องการให้มีงานโรงเรียนมากขึ้น    เป็นต้น  

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕