หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายบริบูรณ์ ศรัทธา
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๗ ครั้ง
ศึกษาหลักพุทธธรรมในการดำเนินชีวิตของรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ (๒๕๕๔)
ชื่อผู้วิจัย : นายบริบูรณ์ ศรัทธา ข้อมูลวันที่ : ๑๙/๐๗/๒๐๑๒
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาทวี มหาปญฺโญ (ละลง) ผศ.ดร.
  ดร.ศศิวรรณ กำลังสินเสริม
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2554
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เรื่อง ศึกษาหลักพุทธธรรมในการดำเนินชีวิตของรัฐบุรุษอาวุโส
ปรีดี พนมยงค์ มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ คือ ๑) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมสำหรับการดำเนินชีวิต ของผู้ครองเรือนในพระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิตของ     รัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์ ๓) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมของรัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์ มาใช้ในการดำเนินชีวิตของผู้ครองเรือนในสังคมไทย

ผลการวิจัยพบว่า

พุทธธรรมอันเป็นเครื่องช่วยให้มนุษย์ประสบความสำเร็จนั้นมุ่งคุณค่าทางปัญญาเป็นสำคัญ คือ การเลือกใช้หลักธรรมตามความเหมาะสม ควรแก่การดำรงชีวิตด้วยความรู้เท่าทันธรรมชาติ ด้วยแนวทางประพฤติปฏิบัติที่ดีงามก่อให้เกิดความสุขต่อตนเองเป็นประโยชน์ต่อ    ผู้อื่นและเกื้อกูลสังคม ได้แก่ ๑) หลักฆราวาสธรรม ๔ ธรรมของผู้ครองเรือนทำให้ชีวิตคู่มั่นคงครอบครัวสมบูรณ์แบบเป็นรากฐานดีงามสู่สังคม ๒) คิหิสุข ๔ ธรรมว่าด้วยความสุขพื้นฐานทางเศรษฐกิจของคฤหัสถ์ ๓) หลักสัปปุริสธรรม ๗ ธรรมอันเป็นคุณสมบัติของคนดี, ผู้ดี ๔) สาราณีย-ธรรม ๖ ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกันก่อให้เกิดความสามัคคีปรองดอง ๕) อารยวัฑฒิ ๕  ธรรมอันเป็นเหตุให้อารยชนเจริญก้าวหน้า ๖) ทศพิธราชธรรมธรรมของผู้ปกครอง ๗) พละ ๔ ธรรมของนักบริหารที่มีคุณธรรม ๘) สังคหวัตถุ ๔ หลักการสงเคราะห์ที่ดี

รัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์ ศรัทธาในพุทธธรรมนำมาปฏิบัติในชีวิต ปรากฏผลงานในบทบาทต่างๆ ดังนี้ บทบาทนักการเมืองที่มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อหน้าที่รับผิดชอบ บทบาท
นักปกครองแบบนักสันติภาพยอมเสียสละให้อภัย บทบาทนักกฎหมายที่ใช้กฎหมายช่วยเหลือเกื้อกูลสังคมประเทศชาติ บทบาทนักเศรษฐศาสตร์มุ่งมั่นพัฒนาพื้นฐานความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทย บทบาทนักการศึกษาผู้ประศาสนการมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองและ             ระบบการศึกษาสมัยใหม่ บทบาทบิดาเป็นหัวหน้าครอบครัวที่อบอุ่นเคียงข้างคู่ชีวิต เพราะท่านเข้าใจสัจธรรมชั้นสูงแห่งพระพุทธศาสนา เช่น ไตรลักษณ์ ปฏิจจสมุปบาท โลกพระศรีอาริย์               จึงใช้หลักพุทธธรรมสร้างสรรค์ประโยชน์สุขให้สังคมไทย ตามที่ท่านเรียกการมีชีวิตอย่างที่     มุ่งหมายนั้น ว่า
ชีวิตอย่างประเสริฐ

รัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์เป็นแบบอย่างการดำเนินชีวิตที่มุ่งประโยชน์ ตามหลักพระพุทธศาสนา ดังนี้ ๑) ประโยชน์ตน(อัตถะ) ท่านใช้พุทธธรรมดำเนินชีวิตสมถะ เรียบง่าย    อดทนต่อความทุกข์ยาก เกื้อกูลแก่ตน ได้แก่ หลักฆราวาสธรรม ๔, คิหิสุข ๔, สัปปุริสธรรม ๗, เป็นประโยชน์ที่เรียกว่า ทิฏฐิธัมมิกัตถะประโยชน์ในปัจจุบันซึ่งเป็นจุดหมายชีวิตในทางโลกียะ และ สัมปรายิกัตถะประโยชน์ หรือจุดหมายชีวิตในภพหน้า ๒) ประโยชน์ผู้อื่นทั้ง ๒ ระดับ คือ ระดับปรัตถะทำประโยชน์ให้ผู้อื่นกับสังคม ชุมชน และระดับอุภยัตถะ ท่านประสานประโยชน์ระหว่างอัตถะกับ ปรัตถะให้เกื้อกูลกันด้วยหลักสาราณียธรรม ๖,อารยวัฑฒิ ๕, ทศพิธราชธรรม,พละ ๔,สังคหวัตถุ ๔,๓) ประโยชน์สูงสุด (ปรมัตถะ) ท่านใช้วิธีปฏิบัติธรรมชั้นสูงในการทำงานประจำวัน

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕