หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอภัย อภิชาโต (ชูขุนทด)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๕ ครั้ง
การศึกษาหลักธรรมสาหรับพัฒนาพฤติกรรมของมนุษย์ ในสังคมปัจจุบัน (๒๕๕๔)
ชื่อผู้วิจัย : พระอภัย อภิชาโต (ชูขุนทด) ข้อมูลวันที่ : ๑๙/๐๗/๒๐๑๒
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสังวราภิรักษ์ สํวโร, ดร.
  ผศ.ดร.สุรพงษ์ คงสัตย์
  ดร. ประพันธ์ ศุภษร
วันสำเร็จการศึกษา : 2554
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์การศึกษา ๓ ประการ คือ () ปัญหาพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมปัจจุบัน () หลักธรรมในการพัฒนาพฤติกรรมของมนุษย์ในพระพุทธศาสนา เถรวาท และ () การประยุกต์หลักธรรมในการพัฒนาพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่า

ปัญหาพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมปัจจุบัน พบว่า ความหมายพฤติกรรมของมนุษย์ หมายถึง การแสดงออกทางการกระทาด้วยกิริยาอาการ ได้แก่ ทางกาย วาจา และใจ ซึ่งเป็นพฤติกรรมของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นบุคคลใดหรือนับถือศาสนาใดก็ตาม การกระทาย่อมส่งผลให้เป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็อยู่ที่การกระทาเป็นสาคัญ ลักษณะพฤติกรรมของมนุษย์มี ๓ ประเภท คือ พฤติกรรมทางกาย ทางวาจา และทางใจ โดยพฤติกรรมของมนุษย์มีอยู่ ๒ ประเภท คือ ประเภทการกระทาที่ทุจริต และสุจริต หรือบุญกับบาป สังเกตเห็นได้ว่าปัญหาทางด้านพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมปัจจุบัน มี ๔ ด้าน คือ ปัญหาด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ด้านการปกครอง และ ด้านสังคม

หลักธรรมในการพัฒนาพฤติกรรมของมนุษย์ตามหลักพุทธศาสนาเถรวาท พบว่ามีอยู่ ๒ ประการ คือ () หลักเบญจศีล คือ ข้อประพฤติปฏิบัติสาหรับควบคุมกายและวาจาให้ตั้งอยู่ในความดีงาม แบ่งเป็นประเภทของเบญจศีลได้ ๕ ประเภท คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์มีชีวิต, เว้นจาก การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้, เว้นจากการประพฤติผิดในกาม, เว้นจากการพูดเท็จ และเว้นจากการดื่มน้าเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท และอานิสงส์ของบุคคลผู้มีศีลสมบูรณ์ด้วยศีลในโลกนี้ ย่อมมีโภคทรัพย์ ย่อมแกล้วกล้า ไม่เก้อเขิน ย่อมไม่หลงลืมสติตาย 

 

หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ และ () เบญจธรรม หมายถึง กัลยาณธรรม แปลว่า ธรรมที่มีความงามเป็นข้อปฏิบัติพิเศษที่ยิ่งขึ้นไปกว่าศีล ซึ่งจะทาให้มนุษย์เป็นคนดี มีคุณธรรม มีกาย วาจา ใจ ที่สะอาดงดงามแบ่งออกเป็นประเภทของเบญจธรรม ๕ ประเภท คือ ความเมตตากรุณา, การเลี้ยงชีพโดยชอบ, ความสารวมในกาม, พูดความจริง และ ความระลึกรู้สึกตัวอยู่เสมอ บุคคลนาไปประพฤติปฏิบัติแล้วจะเกิดผลดีแก่ผู้ปฏิบัติอย่างแน่นอน

 

การประยุกต์หลักธรรมในการพัฒนาพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมปัจจุบัน พบว่า การประยุกต์หลักเบญจศีล และเบญจธรรมมาใช้ในสังคมปัจจุบัน จะสามารถควบคุมพฤติกรรมและพัฒนาทางร่างกาย และจิตใจของตนเองได้สุจริต ก็จะทาให้สังคมมนุษย์อยู่อย่างสงบสุข ภายใต้กฎระเบียบวินัย และกฎเกณฑ์ของสังคม นอกจากนี้ยังพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นอริยบุคคล จาพวก คือ โสดาบันบุคคล อนาคามีบุคคล สกทาคามีบุคคล และ พระอรหันต์ ได้ในที่สุด

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕