หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหากฤษณะ ตรุโณ (บูชากุล)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๘ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์เรื่องทุกข์ในพระพุทธศาสนาเถรวาทเปรียบเทียบกับปรัชญาเอกซิสเตนเชียลิสม์ของฌอง-ปอล ซาตร์ (๒๕๓๖)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหากฤษณะ ตรุโณ (บูชากุล) ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๐๘/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสมชัย กุสลจิตฺโต
  ผศ.ดร.อรรถจินดา ดีผดุง
  รศ.ดร. สมภาร พรมทา
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๐ ธันวาคม ๒๕๓๖
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องทุกข์ในพุทธปรัชญากับปรัชญาเอกซิสเตนเชียลิสม์ของฌอง-ปอล ซาตร์ ผลการศึกษาเปรียบเทียบสรุปได้ว่า
           ๑. ทุกข์ในพุทธปรัชญาจำแนกเป็นสองประเภทหลัก ๆ คือ ทุกข์ในอริยสัจกับทุกข์ในไตรลักษณ์ ทุกข์ในอริยสัจเน้นหนักที่เรื่องทางใจ ส่วนทุกข์ในไตรลักษณ์ครอบคลุมทั้งทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจ ส่วนทุกข์ในไตรลักษณ์ครอบคลุมทั้งทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจ
            ๒. พุทธปรัชญาให้ความสำคัญแก้ทุกข์ทางใจ โดยถือว่าทุกข์เป็นประเภทนี้มีบทบาทมากที่สุดในชีวิตมนุษย์ ทุกข์ดังกล่าวนี้มีสาเหตุมาจากตัณหา หากมนุษย์สามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับทุกข์ประเภทนี้ได้ ชีวิตของเขาก็จะหมดปัญหา
            ๓. พุทธปรัชญาได้เสนอวิธีการขจัดทุกข์ทางใจ เรียกว่า อริยมรรคมีองค์แปด โดยใจความอริยมรรคมีองค์แปดอาจสรุปสาระสั้น ๆ ได้ว่า ได้แก่การมองเห็นสรรพสิ่งตามความเป็นจริง
            ๔. ทุกข์ในทัศนะของฌอง-ปอล ซาตร์ ได้แก่ทุกข์ใจ ทุกข์ทางกาย ซาตร์ไม่ได้กล่าวถึงในปรัชญาของเขา ในทัศนะของซาตร์ทุกข์เกิดจากการที่มนุษย์ไม่ยอมรับว่าตนมีเสรีภาพ ความไม่ตระหนักรู้นั้นทำให้มนุษย์วิ่งหนีความแท้จริงของชีวิต และพยายามไขว่คว้าหาสิ่งภายนอกมาพอกพูนชีวิตอันว่างเปล่า ทุกข์ดังกล่าวนี้จะสิ้นไปถ้ามนุษย์ยอมรับความจริง

            พุทธปรัชญาและปรัชญาของซาตร์เห็นตรงกันว่า ความทะยานอยากคือที่มาของทุกข์และทุกข์จะดับเมื่อมนุษย์หยั่งเห็นความแท้จริงของชีวิต

Download : 253601.pdf
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕