หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ว่าที่เรือตรี ปกรณ์ ศรีปลาด
 
เข้าชม : ๒๐๑๐๗ ครั้ง
การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในพระพุทธศาสนาเถรวาท : กรณีศึกษามโหสถชาดก (๒๕๕๓)
ชื่อผู้วิจัย : ว่าที่เรือตรี ปกรณ์ ศรีปลาด ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๐๙/๒๐๑๑
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุธีธรรมานุวัตร, ผศ.ดร.
  ศ. พล.ต.ต.หญิง นัยนา เกิดวิชัย
  ผศ. ร.ท. ดร. บรรจบ บรรณรุจิ
วันสำเร็จการศึกษา : 2553
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ คือ ๑. เพื่อศึกษาโครงสร้างเนื้อหา            ของมโหสถชาดก ๒. เพื่อศึกษาวิเคราะห์ข้อพิพาทที่ปรากฏในมโหสถชาดกและ                      ๓. เพื่อวิเคราะห์วิธีการที่มโหสถบัณฑิตใช้ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

                  ผลการวิจัยพบว่า  มโหสถชาดกมีความสำคัญ ๒ ประการ ได้แก่ ๑. เป็นชาดก            ที่แสดงหลักคำสอนสำคัญทางพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์  . เป็นคติธรรม           ที่สร้างสัทธาปสาทะปรากฏเป็นบุคคลาธิษฐาน สามารถเข้าใจหลักปฏิจจสมุปบาทแบบ             ขณะปัจจุบันและแบบข้ามภพข้ามชาติ เพราะตราบใดบุคคลไม่สิ้นอาสวกิเลสต้องเวียนว่าย  ตายเกิดในสังสารวัฏ  อิทธิพลข้อนี้สะท้อนให้เห็นในรูปแบบงานวิจิตรศิลป์ของไทย อาทิ จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ หรือวิหาร เป็นต้น

                  ข้อพิพาทที่ปรากฏในมโหสถอรรถกถาชาดกมี ๖ กรณีคือ เรื่องโค , เครื่องประดับทำเป็นปล้อง ๆ, กลุ่มด้าย, บุตร, คนเตี้ยชื่อโคฬกาฬ, และรถ โดยเกิดขึ้นจากสาเหตุสำคัญ ๒ ประการคือ  ๑. สาเหตุภายใน ซี่งมีอกุศลธรรมที่ชื่อว่า ปปัญจธรรม  อันประกอบไปด้วย ตัณหา มานะ และทิฏฐิ  รวมทั้งกุศลธรรม (แสดงออกเป็นกุศลกรรม) ที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดข้อพิพาท  ๒. ปัจจัยภายนอก   มีข้อพิพาทที่ปรากฏเป็นรูปธรรมแบ่งออกได้เป็น ๔ ด้าน คือ   ๑) ข้อพิพาทเกี่ยวกับชาติพันธุ์   ๒) ข้อพิพาทเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ๓) ข้อพิพาทเกี่ยวกับข้อมูลหรือข้อเท็จจริง ๔) ข้อพิพาทเกี่ยวกับผลประโยชน์

            วิธีการที่มโหสถบัณฑิตใช้ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสามารถแบ่งเป็น ๒ ขั้นตอนคือ ๑. การอภิปรายปัญหาหรือข้อพิพาท โดย ๑) การกล่าวเปิดการเจรจาของคนกลาง           ๒) การกล่าวของคู่เจรจา  ๓) การแยกเจรจา และขั้นตอนที่ ๒. การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท  โดย  ๑) การเจรจาร่วม  ๒) การเขียนหรือทำข้อตกลง

download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕