หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูนิยมจันทโพธิ (โพธิ์ศรี จนฺทสาโร)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๙ ครั้ง
การประยุกต์ใช้วาจาสุภาษิตในมงคลสูตรกับสังคมไทยปัจจุบัน (๒๕๕๓)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูนิยมจันทโพธิ (โพธิ์ศรี จนฺทสาโร) ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๐๙/๒๐๑๑
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเทพปริยัติเมธี, ผศ. ดร.
  ผศ. อานนท์ เมธีวรฉัตร
  ศ.ดร. กาญจนา เงารังษี
วันสำเร็จการศึกษา : 2553
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีจุดประสงค์    ประการคือ  ๑)  เพื่อศึกษาความหมายและคุณลักษณะของวาจาสุภาษิตที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา  ๒)  ความหมายและคุณลักษณะของวาจาสุภาษิตที่ปรากฏในมงคลสูตรและ  ๓)  เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้วาจาสุภาษิตในมงคลสูตรต่อการใช้วาทกรรมด้านการเมือง  วาทกรรมด้านการสื่อสาร  วาทกรรมด้านสังคมและวาทกรรมด้านการศึกษาของสังคมไทยปัจจุบัน การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสารโดยเก็บรวบรวมข้อมูลพระไตรปิฎก อรรถกถา และคัมภีร์มังคลทีปนี เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ในเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า ความหมายและคุณลักษณะวาจาสุภาษิตในมงคลสูตรมีลักษณะที่สอดคล้องกับที่มีในพระไตรปิฎก แต่เน้นการพัฒนาตามลำดับข้อของมงคลสูตร โดยมีลักษณะที่เหมือนกัน คือ  ๑. การพูดถูกกาล    ๒. การพูดคำจริง   ๓. การพูดคำอ่อนหวาน   ๔. การพูดให้เกิดประโยชน์   ๕. การพูดด้วยจิตที่ประกอบด้วยเมตตา

ส่วนการประยุกต์ใช้วาจาสุภาษิตนั้นมีความหลากหลายในหลายประเด็นตามกรอบที่ได้วางไว้เพื่อจะศึกษามี ประเด็น ได้แก่ วาทกรรมด้านการเมือง วาทกรรมด้านการสื่อสาร  วาทกรรมด้านสังคมและวาทกรรมด้านการศึกษา ซึ่งผลการวิจัยวาทกรรมด้านการเมืองทำให้ทราบว่าผู้ปกครองที่ดีต้องมีคุณธรรม ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา รู้จักช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อยู่ใต้ปกครอง รู้จักพูด มีวาจาสัตย์ รู้จักทำความสงบใจ ไม่หลงใหลในอำนาจปกครองโดยอาศัยหลักธรรมมีจักกวัตติธรรม  เป็นต้น ส่วนในวาทกรรมด้านการสื่อสารใช้เป็นวิธีการสอนให้เกิดประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังนำไปใช้ในด้านอื่น อีกมากมาย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาบุคคล สังคมและประเทศชาติให้เกิดความสงบร่มเย็นเป็นเอกภาพ  วาทกรรมด้านสังคมทำให้ทราบว่านักสังคมสงเคราะห์ที่ดีต้องมีพรหมวิหารธรรมเป็นหลักใจมีเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ สงเคราะห์ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อผู้อื่นด้วยหลักสังคหวัตถุธรรม ด้านการศึกษาทำให้ทราบว่าพระพุทธศาสนาอาศัยหลักไตรสิกขาในการศึกษาเพื่อพัฒนาตนและสังคม โดยการพัฒนาตนทำให้กายวาจาเรียบร้อย  จิตใจเข้มแข็ง มีปัญญาในการดำรงชีวิต กระทั่งสามารถบรรลุพระอรหันต์ ส่วนการพัฒนาสังคมทำให้สังคมเกิดสันติสุข เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ จึงจะทำให้เกิดประสิทธิภาพและได้รับประสิทธิผลอย่างเต็มที่

download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕