หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาชวิก สุชีโว ( สุขเกิด )
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๕ ครั้ง
การศึกษาพุทธจริยธรรมในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน(๒๕๕๐)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาชวิก สุชีโว ( สุขเกิด ) ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๐๘/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุธีธรรมานุวัตร
  ผศ.ดร.สายวรุณ น้อยนิมิตร
  ดร.วีรชาติ นิ่มอนงค์
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
 
บทคัดย่อ

                 งานวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะศึกษาวิเคราะห์ เรื่องการศึกษาพุทธจริยธรรมใน
วรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาลักษณะของพุทธจริยธรรมในพระพุทธศาสนาโดย
แบ่งออกเป็น ๓ ลักษณะ คือ

- พุทธจริยธรรมระดับพื้นฐานของชีวิต

- พุทธจริยธรรมระดับการเข้าใจชีวิตที่ถูกต้อง

- พุทธจริยธรรมในการเข้าถึงเป้าหมายสูงสุดของชีวิต

                 ผลของการวิจัย พบว่าตัวละครในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนมีพฤติกรรมที่เกี่ยว
เนื่องกับการประพฤติปฏิบัติตามหลักพุทธจริยธรรม การนำพุทธจริยธรรมไปใช้ในชีวิตประจำวัน
จริงเน้นไปในทางโลกียสุขมากกว่าโลกุตรสุข การดำเนินชีวิตของตัวละครในวรรณคดีในสมัย
อยุธยานั้น มีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกับหลักการอื่นที่เป็นองค์ประกอบทำให้วิถีชีวิตดำเนินไปใน
ลักษณะต่าง ๆ โดยเฉพาะความสัมพันธ์ของพระมหากษัตริย์กับราษฎร ขนบธรรมเนียมประเพณี
ความเชื่อถือในไสยศาสตร์ การแบ่งชนชั้น กฎหมาย และ พระสงฆ์ ซึ่งล้วนดำรงอยู่เป็น
องค์ประกอบของสังคมที่สำคัญ และเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมมีความเคลื่อนไหวบนพื้นฐานของความ
แตกต่างกันทางด้านสังคม
พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในสภาวะของเทวราชมีความสัมพันธ์กับราษฎรในลักษณะ ข้า
กับเจ้า บ่าวกับนาย เป็นผู้ที่มีอำนาจเหนือชีวิตของราษฎรทั่วไปทำให้วิถีชีวิตของราษฎรมีความ
สัมพันธ์กับพระมหากษัตริย์โดยตรง ในลักษณะความสัมพันธ์ดังกล่าวนั้นยังมีการแบ่งชนชั้น
ระหว่างราษฎรด้วยกันทำให้เกิดชนชั้นเป็นลักษณะเจ้า ขุนนาง ไพร่ และทาส แต่เป็นลักษณะ
ชนชั้นที่ไม่ตายตัว ทำให้ราษฎรที่เป็นสามัญชนที่เป็นไพร่สามารถใช้ความรู้ความสามารถยกระดับ
ความเป็นราษฎรชั้นต่ำขึ้นไปสู่ชนชั้นสูงได้
พระสงฆ์เป็นผู้นำทางด้านจิตวิญญาณของชนชั้นต่าง ๆ โดยตรง แม้แต่พระมหากษัตริย์
ก็ยังเคารพพระสงฆ์ เป็นผู้นำหลักพุทธจริยธรรมเข้าไปสู่สภาวะทางด้านจิตใจของชนชั้นต่าง ๆ ทำ
ให้เกิดสภาวะแห่งความเหมือนกันในด้านการนำพุทธจริยธรรมไปประพฤติปฏิบัติในวิถีชีวิต ทำให้
เป็นวิถีชีวิตที่เหมือนกันในด้านพุทธจริยธรรม และเป็นการยกระดับจิตใจให้เข้าสู่สภาวะแห่งความ
สงบ สามารถหยั่งรู้ในความเป็นจริงแห่งสัจธรรมในชีวิต ทำให้มองเห็นชีวิตของการแบ่งชน
ชั้นในระดับต่าง ๆ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่มนุษย์กำหนดขึ้นมาเอง มีแต่หลักพุทธจริยธรรมเท่านั้นคือ
กรรมที่จะทำให้เกิดความแตกต่างกันในทางชีวิตได้ แต่กรรมก็เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความมานะพาก
เพียรความพยายามทำแต่สิ่งที่เรียกว่าบุญ เพื่อสะสมความดีไว้ในปัจจุบันและในภพหน้าทำให้สังคม
ในวรรณคดีขุนช้างขุนแผนในสมัยอยุธยามีพุทธจริยธรรมเป็นหลักในการดำเนินชีวิต และควบคุม
พฤติกรรมให้ประพฤติปฏิบัติในแนวทางที่ถูกต้อง เป็นการนำวิถีชีวิตเข้าสู่สภาวะแห่งความเยือก
เย็น สงบ ใสสะอาดบริสุทธิ์ เป็นหนทางแห่งความสงบสุขของสังคมอย่างแท้จริง

 

Download :  255012.pdf

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕