หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระณรงค์ กิตฺติธโร (เด่นประเสริฐ)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๗ ครั้ง
การศึกษาเปรียบเทียบปรัชญาการศึกษาของพุทธทาสภิกขุและพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)(๒๕๕๐)
ชื่อผู้วิจัย : พระณรงค์ กิตฺติธโร (เด่นประเสริฐ) ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๐๗/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหากฤษณะ ตรุโณ
  ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม
  ดร.พิชัย ผกาทอง
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๐
 
บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ เป็นการศึกษาเปรียบเทียบปรัชญาการศึกษาของพุทธทาสภิกขุและพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวความคิดปรัชญาการศึกษาของพุทธทาสภิกขุและพระพรหมคุณาภรณ์ ศึกษาเปรียบเทียบปรัชญาการศึกษา และวิเคราะห์เปรียบเทียบให้เหตุผลเชิงสนับสนุน และโต้แย้งแนวความคิดทางการศึกษาของพุทธทาสภิกขุและพระพรหมคุณาภรณ์ผลการศึกษาพบว่า ความหมายการศึกษาของพุทธทาสภิกขุ คือ สิกขา เป็นการศึกษาปฏิบัติทำให้สิ้นราคะ โทสะ และโมหะ จุดมุ่งหมายของการศึกษาก็เพื่อมวลมนุษยชาติ มุ้งเน้นส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมแก่สังคม องค์ประกอบของการศึกษามี ๔ประเภท คือ หลักสูตรการศึกษา ตัวผู้สอน สถานที่ และตัวผู้เรียน การจัดการศึกษาเพื่อทำให้คนมีความรอบรู้ตามหลักศีล สมาธิ และปัญญา และการปฏิรูปการศึกษามี ๔ ประเภท คือการปฏิรูปแบบสาธิต การปฏิบัติรูปแบบแนวคิด การปฏิบัติเพื่อให้รู้จักบุญคุณ และการปฏิรูปเพื่อพัฒนาจิตผลการศึกษาพบว่า ความหมายการศึกษาของพระพรหมคุณาภรณ์ คือการศึกษาเพื่อพัฒนาคน ศึกษาแบบไตรสิกขาเพื่อให้ผู้เรียนมีศีล สมาธิ ปัญญา และศึกษาแบบภาวนาเพื่อพัฒนาผู้เรียนทางกาย วาจา ใจ และปัญญา จุดมุ่งหมายการศึกษามี ๕ แนวทางคือ ต้องทำให้ชีวิตพึงได้รับและเกิดประโยชน์ ต้องทำให้เกิดภาวะเพื่อตนเอง ต้องทำให้รู้จักสร้างเสริมปัญญา ต้องทำให้ผู้เรียนเป็นพหุสูตร และทำให้ผู้เรียนรู้จักเคารพครูอาจารย์องค์ประกอบของการศึกษามี ๒ ประเภท คือ องค์ประกอบภายนอก มีบุคคลทำให้เกิดการเรียนรู้ “สัตบุรุษ” มีสถานที่รวมทั้งสังคมชุมชน และองค์ประกอบภายใน เกิดจากแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการที่มีเหตุผลสัมพันธ์กัน การจัดการศึกษามี ๒ แนวทาง คือ การศึกษาแบบ
ทั่วไป มาจากความเชื่อว่ามนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐสามารถฝึกได้ และการศึกษาแบบไตรสิกขาเพื่อการพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการปฏิรูปการศึกษาก็เพื่อประโยชน์สังคมปัจจุบัน ทำให้คนรู้จักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ถูกต้อง รู้จักการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และรู้จักประชาธิปไตยและธรรมาธิปไตยที่ถูกต้องผลการเปรียบเทียบความหมายการศึกษา พบว่า มีความเหมือนกันมาจากหลักสิกขา ๓ คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา มีข้อโต้แย้งกับบัญญัติศัพท์ ถ้าเปรียบเทียบสังคมปัจจุบันไม่ครอบคลุมการเปลี่ยนแปลงทางสังคม จุดมุ่งหมายการศึกษามีความเหมือนกันอยู่ ๒ ประการ คือการศึกษาเพื่อพัฒนาคนในปัจจุบันให้มีคุณภาพ และการศึกษาเพื่อพัฒนาคนในอนาคตที่จิตวิญญาณและสร้างปัญญา มีข้อโต้แย้งกันใน
รายละเอียด แต่สังคมปัจจุบันให้คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาทุกอย่าง องค์ประกอบของการศึกษามีความเหมือนกันอยู่ ๒ ประการ คือ องค์ประกอบภายนอก และองค์ประกอบภายในมีความแตกต่างกันเพียงแค่ลักษณะการใช้ศัพท์ แต่สังคมปัจจุบันองค์ประกอบการศึกษาต้องสัมพันธ์กับระดับชาติ และนานาชาติ การจัดการศึกษามีความเหมือนกันอยู่ ๒ ประการคือ เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคม เพื่อพัฒนาตน มีความแตกต่างกันโดยศัพท์แต่เป้าหมายเหมือนกัน แต่สังคมปัจจุบันการศึกษาทั้งสองท่านยังไม่สามารถสนองตอบทางเศรษฐกิจได้และการปฏิรูปการศึกษามีความเหมือนกันอยู่ ๔ ประเภท คือ แนวคิดผู้เรียน สังคมสถานศึกษา และเทคโนโลยี มีความแตกต่างกันโดยศัพท์ แต่สังคมปัจจุบันการศึกษาทั้งสองท่านมองข้ามการพัฒนาคนเป็นผู้นำ แนวทางบูรณาการแนวคิดการศึกษาทั้งสองท่านมาเพื่อใช้รักษาสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมที่ว่า “ความจนเป็นเรื่องใหม่ ครั้งโบราณคนไทยไม่จน”และการประยุกต์ใช้จัดทำหลักสูตร และเพื่อพัฒนาครูให้มีคุณธรรม

Download :  255008.pdf
 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕