หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระวีระพจน์ ชาครธมฺโม (ผลจันทร์)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๔ ครั้ง
การมีส่วนร่วมของสตรีชาวพุทธในการเสริมสร้างชุมชนสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณีศึกษาชุมชนบ้านนอก ต.บ้านนอก อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี (สาขาวิชาสันติศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระวีระพจน์ ชาครธมฺโม (ผลจันทร์) ข้อมูลวันที่ : ๐๓/๑๒/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์
  พูนสุข มาศรังสรรค์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาประวัติและความเป็นมาของชุมชนบ้านนอก ต.บ้านนอก อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ตามบริบทของพื้นที่ ๒) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาผลกระทบจากความรุนแรงและการปรับตัวของสตรีชาวพุทธในจังหวัดชายแดนภาคใต้๓) เพื่อถอดบทเรียนการมีส่วนร่วมของสตรีชาวพุทธในการเสริมสร้างชุมชนสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของชุมชนบ้านนอก ต.บ้านนอก อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานีเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แบบลงภาคสนามโดยการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการทำกลุ่มสนทนา (Focus Group Discussions) จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants)แบ่งเป็น ๕ กลุ่ม จำนวน ๒๗ ท่าน

ผลการศึกษาพบว่า    

๑) ชุมชนบ้านนอกมีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนานกว่า ๑๒๔ ปี เป็นชุมชนชาวพุทธที่สามารถอยู่กับเพื่อนต่างศาสนิกรอบชุมชนได้อย่างสันติสุข เมื่อเกิดเหตุการณ์รุนแรงนับแต่ปี ๒๕๔๗

ชุมชนได้รับผลกระทบจากการสูญเสียผู้ชายซึ่งเป็นผู้นำครอบครัวส่งผลให้สตรีในชุมชนต้องแบกรับภาระทุกอย่างของครอบครัว ความสัมพันธ์กับเพื่อนต่างศาสนิกที่เป็นมุสลิมก็เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมทำให้เกิดความหวาดระแวงและสัมพันธภาพที่เหินห่างกัน

๒) สภาพปัญหาและผลกระทบแบ่งเป็น ๓ ด้าน (๑) ด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต คือ ปัญหาความพิการ ปัญหาความโศกเศร้าเสียใจ ความกลัว และความหวาดระแวง (๒) ด้านเศรษฐกิจคือปัญหารายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย การไม่มีอาชีพทำกิน ภาระหนี้สินที่เพิ่มขึ้น ๓) ด้านสังคม ความยากลำบากในการดำเนินชีวิตด้วยโครงสร้างทางสังคมเปลี่ยนไป สตรีต้องต้องลุกมาเป็นผู้นำครอบครัว การแยกตัวออกจากสังคม ไม่กล้าแสดงออก ไม่มีความมั่นใจและขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมจากความกลัวในภัยและไม่ไว้วางใจในการไปมาหาสู่กับเพื่อนต่างศาสนิก

๓) สตรีชาวพุทธชุมชนบ้านนอกมีส่วนร่วมในการสร้างสันติสุขในชุมชน ได้แก่ ๑) ร่วมฟื้นฟูเยียวยาจิตใจให้กับสตรีที่ได้ผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรง ๒) ร่วมคิดร่วมสร้างความเชื่อมั่นในสันติวิธี ๓) ร่วมนำหลักธรรมมาใช้ในการพัฒนาชีวิตโดยการปฏิบัติเป็นอุบาสิกาที่ดีของชาวพุทธ ๔) ร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมชุมชนอย่างสร้างสรรค์ ๕) ร่วมกันแก้ปัญหา ก้าวข้ามความเห็นต่างอย่างมีพลังด้วยอปริหานิยธรรม ๖) ร่วมรักษาวิถีแห่งประเพณีวัฒนธรรม ดำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา๗) ร่วมประสานใจด้วยวิถีการสื่อสารอย่างสันติ

องค์ความรู้ใหม่ จากการถอดบทเรียนโมเดลการมีส่วนร่วมของสตรีชาวพุทธชุมชน                        บ้านนอก เรียกโมเดลนี้ว่า Buddhist Lady Power 4 Peaces Model อันประกอบด้วย L-G-W-S ได้แก่ L= Live together with love คือการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขมีความรู้สึกที่ดีต่อกัน มีความสามัคคี และเหนียวแน่น ไม่แบ่งแยกระหว่างพุทธ-มุสลิม G = Good economic community คือ ปากท้องอิ่ม ผู้นำสตรีควรหาช่องทางสร้างอาชีพเพิ่มรายได้เสริมต่างๆจากภายนอกเข้ามาสู่ชุมชน W = Worldwide for peace คือ การมีโลกทัศน์กว้างอย่างสันติผู้นำสตรีควรหาข้อมูลความรู้ต่างๆ จากสถานการณ์ภายนอกชุมชน เพื่อนำมาสื่อสารต่อคนในชุมชน ให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงไปของสังคมโลกในปัจจุบัน S= Self-sufficient คือ กายืนหยัดอยู่ได้ด้วยตนเองผู้นำสตรีควรมองว่าในอนาคตชุมชนต้องสามารถอยู่ได้ด้วยตนเอง มีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้และมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน โดยไม่แบ่งแยกว่าเป็นพุทธหรือมุสลิม

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕