หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสุวรรณารัฐ สิกฺขวินโย (กาน)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๗ ครั้ง
การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธธรรม ของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระสุวรรณารัฐ สิกฺขวินโย (กาน) ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๑๑/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  อนุวัติ กระสังข์
  เติมศักดิ์ ทองอินทร์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓o พฤษภาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ 2)เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ตามหลักพุทธธรรมโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยดำเนินการวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)  การวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการโดยการสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 398 คน ซึ่งเป็นประชาชนในตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ ที่ระดับความชื่อมั่นที่ 0.812 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบสมมติฐาน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล การทดสอบค่าที (t-test) ในกรณีตัวแปรต้นสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F-Test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ดำเนินการโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) จำนวน 7 ท่าน  เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

 

 

 

ผลการศึกษาพบว่า :

1. การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ประชาชนมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ย ( = 3.84) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย ( =3.85) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมากทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ คือ ด้านสุขภาพมีค่าเฉลี่ย ( =3.90), ด้านสังคมมีค่าเฉลี่ย ( =3.89), ด้านครอบครัว มีค่าเฉลี่ย ( =3.81)และ ด้านอาชีพ มีค่าเฉลี่ย ( =3.79)

 

3. เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ตามหลักพุทธธรรมโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีเพศ สถานภาพ อายุ และระดับการศึกษา ต่างกัน  มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐาน ส่วนประชาชนที่มีรายได้แตกต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จึงยอมรับสมมติฐาน

 

3.ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะแนวการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ในด้านสุขภาพ พบว่า การสนับสนุน ส่งเสริมสถานที่และอุปกรณ์กีฬายังไม่ทั่วถึงรวมไปถึงการให้ความรู้ในการดูแลรักษาสุขภาพขอองประชาชนยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ด้านอาชีพ พบว่า ประชาชนยังไม่มีงานทำในบางกลุ่ม การส่งเสริมอาชีพแก่คนในชุมชนยังไม่ทั่วถึงและอาชีพที่ทางองค์การบริหารส่วนตำบลส่งเสริมบางอาชีพยังไม่ค่อยมีการทำต่อเนื่องเท่าที่ควรด้านสังคม พบว่า ประชาชนยังไม่ค่อยมีความสามัคคีเท่าที่ควรในบางชุมชน เนื่องด้วยเป็นเขตที่มีพื้นที่ใหญ่ประชากรมีจำนวนมาก และเป็นชุมชนเมืองทำงานแข่งขันกับเวลา จึงมีเวลาแก่กันน้อยในการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน ด้านครอบครัว พบว่าครอบครัวไม่มีเวลาให้กันมีการจัดกิจกรรมที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์ในครอบครัวน้อยครอบครัวขาดธรรมะในการอบรม ลูกหลาน และองค์การบริหารส่วนตำบลมีบาทในสถาบันครอบครัวน้อยเกินไป ส่วนข้อเสนอแนะ องค์การบริหารส่วนตำบลมีการพัฒนารูปแบบโครงสร้างในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในทุกด้าน เพื่อให้มีความคลุมทั่วถึงทุกชุมชน มีการเข้าไปดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ในโครงการที่ควรดำเนินการและควรมีเครื่องมือในการพัฒนาที่ทันสมัย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕