หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระจำเริญ อุตฺตเตโช (นวน)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๙ ครั้ง
การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วน ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระจำเริญ อุตฺตเตโช (นวน) ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๑๑/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ธิติวุฒิ หมั่นมี
  เติมศักดิ์ ทองอินทร์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาการบริหารงานตามหลักพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบล การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยดำเนินการวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)  การวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการโดยการสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๓๙๐ คน ซึ่งเป็นประชาชนในตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบประมาณค่า ๕ ระดับ ที่ระดับความชื่อมั่นที่ ๐.๘๑๒ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบสมมติฐาน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล การทดสอบค่าที (t-test) ในกรณีตัวแปรต้นสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F-Test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ดำเนินการโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) จำนวน ๙ ท่าน  เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

 

 

 

 

 

 

ผลการศึกษาพบว่า :

 

๑. การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ประชาชนมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = ๓.๗๒,S.D=๐.๕๑) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น มีระดับค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก ( =๓.๗๖,S.D=๐.๕๖) รองลงมา คือด้านวิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น มีระดับค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =๓.๗๔,S.D=๐.๕๗) และสุดท้ายด้านวิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด มีระดับค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =๓.๖๙, S.D=๐.๕๙) อยู่ในระดับมาก

 

 

 

๒. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีเพศ สถานภาพ อายุ และระดับการศึกษา ต่างกัน  มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐาน ส่วนประชาชนที่มีรายได้แตกต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ จึงยอมรับสมมติฐาน

 

 

 

 

๓. ปัญหาและอุปสรรคต่อการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา พบว่า การพัฒนาท้องถิ่นไม่สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่นเท่าที่ควร ขาดการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อทำแผนพัฒนา ประชาชนขาดการมีส่วนร่วมตรวจสอบติดตามโครงการ/กิจกรรม ข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรมีการพัฒนาท้องถิ่นให้ตรงกับสภาพท้องถิ่น ควรมีการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ขององค์กร

 

 

 

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕