หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูพิพิธพิพัฒนโกศล (ธวัชชัย ญาณวีโร)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๗ ครั้ง
การปกครองคณะสงฆ์ตามหลักอปริหานิยธรรม: กรณีศึกษา พระสังฆาธิการอำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม (สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูพิพิธพิพัฒนโกศล (ธวัชชัย ญาณวีโร) ข้อมูลวันที่ : ๒๓/๑๑/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสมุทรวชิรโสภณ
  ธิติวุฒิ หมั่นมี
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) ศึกษาการปกครองคณะสงฆ์ตามหลักอปริหานิยธรรม: กรณี ศึกษาพระสังฆาธิการอำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม (๒) เปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการปกครองคณะสงฆ์ตามหลักอปริหานิยธรรม: กรณีศึกษาพระสังฆาธิการอำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (๓) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาการปกครองคณะสงฆ์ตามหลักอปริหานิยธรรม: กรณีศึกษาพระสังฆาธิการ อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลจากพระสงฆ์ในอำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน ๒๕๐ รูป วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที และค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๑๒ รูป/คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

             ผลการวิจัยพบว่า

             ๑. การปกครองคณะสงฆ์ตามหลักอปริหานิยธรรม: กรณีศึกษาพระสังฆาธิการ อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงครามรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๖๘ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านพร้อมเพรียงกันประชุม เลิกประชุม และทำกิจที่สงฆ์ต้องทำ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๗๕ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านตั้งใจอยู่ว่าเพื่อนภิกษุสามเณรเป็นผู้มีศีล ซึ่งยังไม่มาสู่อาวาสขอให้มา ที่มาแล้วขอให้อยู่เป็นสุข อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๕๗

             ๒. ผลการเปรียบเทียบความเห็นที่มีต่อการปกครองคณะสงฆ์ตามหลักอปริหานิยธรรม: กรณีศึกษาพระสังฆาธิการอำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า สถานภาพ อายุ พรรษา และการศึกษามีผลให้ความคิดเห็นที่มีต่อการปกครองคณะสงฆ์ตามหลักอปริหานิยธรรม : กรณีศึกษาพระสังฆาธิการอำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย

             ๓. ปัญหา อุปสรรคการปกครองคณะสงฆ์ตามหลักอปริหานิยธรรม: กรณีศึกษาพระสังฆาธิการอำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม ได้แก่ เน้นการประชุมเพื่อรับนโยบาย การไม่สามารถรักษาเวลาของการประชุมได้ ไม่ค่อยมีเอกสารประกอบการประชุม ผู้บวชใหม่ไม่ค่อยรู้พระวินัย ขาดการมีส่วนร่วมในการกำหนดข้อบังคับภายใน พระภิกษุสามเณรที่มีกิริยามารยาทเรียบร้อยไม่ค่อยได้รับการชื่นชมต่อหน้าสาธารณชน การไม่มีบทลงโทษที่เด็ดขาด ภาวะความเป็นเด็กของสามเณร วัดบางวัดไม่ได้รักษาความสะอาด ไม่มีที่พักหรือห้องที่จัดไว้เฉพาะสำหรับอาคันตุกะ และข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาการปกครองคณะสงฆ์ตามหลักอปริหานิยธรรม: กรณีศึกษาพระสังฆาธิการอำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้แสดงความคิดเห็นโดยเสมอภาคกัน การเคารพกรอบเวลาตามระเบียบของที่ประชุม การจัดทำเอกสารประกอบการประชุม การจัดทำรายงานการประชุมพร้อมเสนอที่ประชุมรับรอง การส่งเสริมการศึกษาพระวินัยตั้งแต่แรกบรรพชาอุปสมบท การกำหนดระเบียบภายในวัดโดยอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมของพระภิกษุสามเณรภายในวัด การยกย่องพระภิกษุและสามเณรที่มีกิริยามารยาทเรียบร้อย การลงโทษแก่พระภิกษุสามเณรที่ไม่ให้ความเคารพต่อผู้อาวุโส การส่งเสริมการปฏิบัติตามหลักเมตตาในพรหมวิหารธรรม การอบรมศิษย์วัดเป็นประจำ การอบรมสามเณรให้มีกิริยาเรียบร้อย การรักษาความสะอาดภายในบริเวณวัด การส่งเสริมการปฏิบัติตามหลักสาราณียธรรม และการจัดที่พักสำรองไว้รองรับพระภิกษุอาคันตุกะ

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕