หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหานพดน สิรินฺธโร (สิงหัน)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๘ ครั้ง
การศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการบูชาพระธาตุโพนทองที่มีอิทธิพลต่อชุมชน ตำบลหนองนาคำ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
ชื่อผู้วิจัย : พระมหานพดน สิรินฺธโร (สิงหัน) ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๑๑/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราเชนทร์ วิสารโท
  พระครูจิรธรรมธัช
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

 

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  ๑)  เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องความเชื่อและพิธีกรรมการบูชาพระธาตุที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเถรวาท  ๒)  เพื่อศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมในการบูชาพระธาตุโพนทอง ในชุมชน ตำบลหนองนาคำ อำเภอเมือง  จังหวัดอุดรธานี              ๓) เพื่อศึกษาอิทธิพลความเชื่อและพิธีกรรมในการบูชา พระธาตุโพนทอง ที่มีต่อชุมชนตำบลหนองนาคำ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีการดำเนินระเบียบการวิจัย                                                                                                                                        ขั้นตอนรวบรวบข้อมูล ได้แยกข้อมูลออกเป็น ๓ ประเภท  คือ ข้อมูลประเภทเอกสาร ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และข้อมูลภาคสนามการศึกษาภาคสนาม เป็นการศึกษาจากการสังเกต การสัมภาษณ์บุคคล ตลอดการวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือที่ใช้ในการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ การจดบันทึก ใช้เครื่องมือบันทึกเสียง กล้องถ่ายรูป การบันทึกเทป ซึ่งประกอบด้วย พระสงฆ์ ข้าราชการ กำนันผู้ใหญ่บ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้มาประกอบพิธี

               ผลจากการวิจัยพบว่าความเชื่อและพิธีกรรมการบูชาพระธาตุที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเถรวาทโดยหลักธรรมพระพุทธศาสนาสืบทอดต่อๆกันมาก็เพราะความเชื่อในทางพระพุทธศาสนาและในที่นี้ก็คือศรัทธาสมเด็จพระศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสไว้ว่า ศรัทธาที่ตั้งมั่นคงแล้ว ย่อมยังประโยชน์ให้สำเร็จ ศรัทธา แปลว่า ความเชื่อ ชาวพุทธจะต้องเชื่อและนับถือพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อย่างมั่นคงอีกอย่างหนึ่งจะต้องเชื่อใน ๔ เรื่องหลัก  คือ  ๑) เชื่อเรื่องกรรม คือการกระทำ  ๒) เชื่อเรื่องผลของกรรม ๓) เชื่อใครทำ ใครได้ ๔) เชื่อการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า พระบรมสารีริกธาตุ ที่พระเพลิงมิได้ไหม้ทั้งประเภท ลักษณะและขนาดไว้ ดังนี้

(๑) ประเภทของพระบรมสารีริกธาตุ มี ๒ คือ ที่กระจายออกจากกัน และที่ไม่กระจายออกจากกัน (๒) ลักษณะของพระบรมสารีริกธาตุ มี ๓ คือ ลักษณะสีเหมือนดอกมะลิตูม ลักษณะสีเหมือนแก้วมุกดาที่เจียระไน และเหมือนสีจุนหรือผงทองคำพระธาตุมี  ๓ ขนาด มีสัณฐาน เหมือนเม็ดผักกาด และข้าวสารหลัก เม็ดถั่วแตก ต่อมาได้มีการสร้างพระสถูปเจดีย์ ๔ ประเภท ไว้กราบไหว้สักการบูชา

    ผลจากการวิจัยพบว่า ชาวชุมชนตำบลหนองนาคำในปัจจุบันมีความเชื่อและพิธีกรรม            ในการบูชาพระธาตุโพนทอง ในชุมชน ตำบลหนองนาคำ อำเภอเมือง  จังหวัดอุดรธานี  ชาวชุมชนตำบลหนองนาคำ ในปัจจุบันมีเชื่อว่าบุคคลใดมีจิตเลื่อมใสบูชาพระพุทธเจ้าด้วยอามิสบูชา คือ               การบูชาด้วยดอกไม้บูชานั้นเครื่องของหอม  การบูชามีอยู่  ๒ ประการ  ๑ บูชาด้วยการปฏิบัติบูชา คือตั้งตนอยู่ในโอวาท แล้วประพฤติตนเป็นธรรมจารี ถือศีล ๕ และ ศีล ๘ มรรคมีองค์  ๘  และ ไตรสิกขาบาท เรียกว่า ปฏิบัติบูชา  ส่วนบุคคลผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง ประพฤติตามธรรม ด้วย ถือว่าบูชาพระองค์ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง  ๒.บูชาด้วยอามิสบูชา คือ บูชาด้วยวัสดุสิ่งของ หรือประทีป ธูป เทียน และสุคนธชาติ พวงมาลัย  เครื่องหอม ช้างม้าวัวควาย บั้งไฟ ผ้า ๗  สี ผ้าห่มพระธาตุ รำบวงสรวง จุดบั้งไฟบูชา การนำมหรสพมาแสดง ผลไม้มงคลต่าง ๆ น้ำดื่มต่าง ๆ เช่น น้ำเปล่า น้ำแดง น้ำเขียว น้ำส้ม เรียกว่า อามิสบูชา ด้วยสิงของต่างๆ ที่ตนมีความเชื่อ

ผลจากการวิจัยพบว่าชาวชุมชนตำบลหนองนาคำในปัจจุบันมีอิทธิพลความเชื่อและพิธีกรรมในการบูชา พระธาตุโพนทอง ที่มีต่อชนตำบลหนองนาคำ ได้รับอิทธิพลต่อพระธาตุโพนทองคือ จริยธรรม และศีลธรรมอันดีงาม มีความเชื่อถือตั้งแต่ผู้เฒ่าผู้แก่ ปู่ ย่า ตา ยาย คือ ความเชื่อเรื่องที่มีอิทธิพลต่อชุมชนชาวตำบลหนองนาคำ ใน ๖ ด้านได้แก่  ๑) อิทธิพลที่มีต่อความเชื่อเรื่องส่วนปัจเจกบุคคล  ๒) อิทธิพลที่มีต่อความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธ์ อิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ ๓) อิทธิพลที่มีต่อความเชื่อเรื่องบุญบั้งไฟ   ๔) อิทธิพลที่มีต่อความเชื่อเรื่องกรรม บุญ-บาป  ๕) อิทธิพลที่มีต่อความเชื่อเรื่องนรก-สวรรค์   ๖) อิทธิพลที่มีต่อความเชื่อเรื่องสังคม-เศรษฐกิจ-ชุมชนทำให้ชุมชนมีศีลธรรมมากขึ้น มีความเกรงกลัวต่อบาปและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น การเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นกิจกรรมทางหนึ่งที่จะทำให้คนในชุมชนปฏิบัติตัวเป็นคนดีมีศีลธรรม ให้มีความสามัคคี สร้างความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ปลูกฝังจิตสำนึกในครอบครัวเป็นที่ให้ชุมชนและครอบครัวมีกิจกรรมร่วมกัน เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในครอบครัวเป็นที่พึ่งทางใจ ของชุมชนตำบลหนองนาคำ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เมื่อได้มาขอพรให้ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุขและกราบไหว้ขอพรให้ท่านคุ้มครองจึงมีความเชื่อมั่นทางด้านจิตใจ และความเชื่อด้านสติและสมาธิมากขึ้น ทำให้สังคมอยู่กันแบบผาสุก เกิดความปลอดภัยและดีงามภายในชุมชน สืบต่อไป

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕