หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูศรีสุตโสภณ (เงิน ชาตเมธี)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๙ ครั้ง
ความกตัญญูกตเวทีในฐานะคุณธรรมค้ำจุนสังคมจากมุมมองพระพุทธศาสนา(๒๕๔๙)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูศรีสุตโสภณ (เงิน ชาตเมธี) ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๐๗/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาณรงค์ กนฺตสีโล
  ดร.เทพประวิณ จันทร์แรง
  นายบัณฑิต รอดเทียน
วันสำเร็จการศึกษา : ๑ ธันวาคม ๒๕๔๙
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ เรื่องความกตัญญูกตเวทีในฐานะคุณธรรมค้ำจุนสังคมจากมุมมอง
พระพุทธศาสนานี้ มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัย ๒ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาองค์
ความรู้เกี่ยวกับความกตัญญูกตเวทีในพระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษาหลักการปฏิบัติที่
ถูกต้องเกี่ยวกับความกตัญญูกตเวทีที่จะเป็นฐานค้ำจุนสังคม โดยการศึกษาข้อมูลจาก
เอกสารคือคัมภีร์พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีและฉบับแปลและอรรถกถา ตลอดถึง
เอกสาร ตำรา วิชาการ และงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่า
ความกตัญญูกตเวที หมายถึง การสำนึกรู้ในบุญคุณหรือุปการคุณของผู้อื่น
หรือสิ่งอื่นที่มีแก่ตน และการทำตอบแทนคุณด้วยการแสดงออกทางกายและทางวาจาด้วย
วิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยนัยนี้ คำว่า กตัญญูจัดเป็นมโนกรรม และคำว่า กตเวที
จัดเป็นกายกรรมและวจีกรรม
หลักการสำคัญของความกตัญญูกตเวที คือ คุณธรรมทั้งสองประการนี้ เป็นสิ่ง
คู่กัน หากไม่มีกตัญญุตา กตเวทิตาก็เกิดขึ้นไม่ได้ หรือหากมีเฉพาะกตัญญุตาแต่ไม่มี
กตเวทิตา ความกตัญญูกตเวทีก็ไม่สมบูรณ์ ไม่เกิดการกระทำตอบแทนคุณที่เป็นรูปธรรม
และความกตัญญูกตเวทีที่สมบูรณ์ต้องเป็นสัมมาทิฏฐิคือถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
ไม่ผิดศีลธรรม ไม่ผิดกฎหมายบ้านเมือง ไม่ขัดระเบียบวินัย ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรม
ประเพณีอันดีงามของสังคม
ความกตัญญูกตเวทีมีความสำคัญยิ่ง จากการศึกษาวิจัย พบว่า พระพุทธศาสนา
กล่าวถึงความสำคัญของความกตัญญูกตเวที ไว้ ๔ ประการ คือ
๑. ความกตัญญูกตเวทีเป็นพื้นฐานของคนดี กล่าวคือ คุณธรรมนี้เป็นมารดา
หรือเป็นบ่อเกิดของคุณธรรมอื่นๆ และเป็นฐานช่วยเกื้อหนุนส่งเสริมให้คนกระทำความดี
ยิ่งๆ ขึ้นไป
๒. ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี กล่าวคือ คุณธรรมนี้
เป็นนิมิต หรือเครื่องหมายบ่งบอกคุณสมบัติของความเป็นคนดี เป็นคุณธรรมของสัตบุรุษ
๓. กตัญญูกตเวทีบุคคลหาได้ยากในโลก เพราะเหตุว่าบุคคลที่จะมีทั้งความ
กตัญญูและกตเวทีอย่างสมบูรณ์นั้นหาได้ยาก
๔. ความกตัญญูกตเวทีก่อให้เกิดมงคลแก่ชีวิต ในด้านการได้รับยกย่อง
ความเจริญรุ่งเรือง และความประสบสุขในโลกนี้และโลกหน้า
ลักษณะของความกตัญญูกตเวทีที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ผลจาก
การศึกษาวิจัยพบว่ามีอยู่ ๖ ลักษณะ คือ
๑. ความกตัญญูกตเวทีระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ ที่พบ เป็นการแสดงความ
กตัญญูกตเวทีที่บุตรกระทำต่อมารดาบิดา ด้วยการปรนนิบัติเลี้ยงดูด้วยปัจจัยสี่ การยอม
สละชีวิตเพื่อปกป้องชีวิตมารดาบิดา การเตือนสติมารดาบิดาให้ตั้งมั่นในธรรม การแสดง
ความกตัญญูกตเวทีของศิษย์ต่ออาจารย์ ด้วยการเคารพเชื่อฟังปรนนิบัติรับใช้ ตั้งใจศึกษา
การทดแทนคุณระหว่างมิตรกับมิตร ด้วยปัจจัยสี่ การปกป้องมิตรและทรัพย์สมบัติของ
มิตร การตักเตือนมิตรให้ตั้งในธรรม
๒. ความกตัญญูกตเวทีระหว่างมนุษย์กับเทวดา ที่พบ จะเป็นลักษณะการ
ทดแทนคุณกันด้วยการประกาศคุณ การทำเทวตาพลี การปกป้องทรัพย์สมบัติของมิตร
๓. ความกตัญญูกตเวทีระหว่างมนุษย์กับอมนุษย์ ที่พบ จะเป็นลักษณะของ
การอุทิศส่วนบุญกุศลไปให้แก่บุพพการีที่ล่วงลับ
Download :  254984.pdf

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕