หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหารัตกร กมลสุทฺโธ (แสงสุด)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๔ ครั้ง
กระบวนการแก้ไขปัญหาความยากจนของกลุ่มเกษตรพอเพียง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี (สาขาวิชาการพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหารัตกร กมลสุทฺโธ (แสงสุด) ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๑๑/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  วิวัฒน์ หามนตรี
  พระสุธีรัตนบัณฑิต
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนวัตถุประสงค์ของการวิจัยไว้ ๓ ประการ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษากระบวนการแก้ไขปัญหาความยากจนของกลุ่มเกษตรพอเพียง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี       ๒) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการแก้ไขความยากจนของกลุ่มเกษตรพอเพียง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ๓) เพื่อวิเคราะห์หลักเศรษฐกิจพอเพียงกับการแก้ไขปัญหาความยากจนของกลุ่มเกษตรพอเพียง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Methodology Research) ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชาชนทั่วไป กลุ่มเกษตรพอเพียง         ภาครัฐ และภาคเอกชน ในพื้นที่ชุมชนตำบลคำบง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี จำนวน ๓๐๘ คน โดยการเปิดตารางขนาดกลุ่มตัวอย่างของ ทาโร ยามาเน (Taro Yamane) ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จากกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามทั้งหมดมาวิเคราะห์ และประมวลผล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยใช้สถิติ ดังนี้ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าเอฟ (F - test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท (Content Analysis Techniques)

 


ผลการวิจัยพบว่า

๑. กระบวนการแก้ไขปัญหาความยากจนของกลุ่มเกษตรพอเพียง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ๓.๗๘ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน คือด้านเทคโนโลยี   ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านเศรษฐกิจ ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ด้านจิตใจ ด้านสังคม อยู่ในระดับมากทุกด้าน

๒. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการแก้ไขความยากจนของกลุ่มเกษตรพอเพียง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี โดยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้/เดือน อาชีพ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการประกอบอาชีพตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ปัญหาทางด้านสุขภาพ การจัดการผลผลิต การเข้าถึงสิทธิและโอกาสในการประกอบอาชีพ แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อการแก้ไขความยากจนของกลุ่มเกษตรพอเพียง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐาน ส่วนการมีส่วนร่วมของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาความยากจน จำนวนที่ดิน แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อการแก้ไขความยากจนของกลุ่มเกษตรพอเพียง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี แตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐาน

 

๓. ข้อเสนอแนะ การวิเคราะห์หลักเศรษฐกิจพอเพียงกับการแก้ไขปัญหาความยากจนของกลุ่มเกษตรพอเพียง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี พบว่า กลุ่มเกษตรพอเพียงใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงแก้ไขปัญหาความยากจน คือ หลัก ๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข ได้แก่ ด้านความพอประมาณควรพอดีต่อความจำเป็นและเหมาะสม กับฐานะตัวเอง พออยู่ พอกิน พึ่งตนเอง ประหยัดเรียบง่าย และได้ประโยชน์สูงสุด ด้านความมีเหตุผลการตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียง และการดำเนินการอย่างพอเพียงนั้นต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลตามหลักวิชาการ หลักคุณธรรมและวัฒนธรรมที่ดีงาม   ด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดีการไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต มีการเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อให้สามารถบริหาร ความเสี่ยง ปรับตัว และรับมือได้อย่างทันท่วงที ด้านความรู้ ความรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ อย่างรอบด้าน ซึ่งจะช่วย พัฒนาทักษะการประกอบอาชีพและการดำเนินชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ ด้านคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต มีความอดทน มีความเพียร และใช้สติปัญญา ในการดำเนินชีวิต

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕