หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางสุธรรมมา วรนาวิน
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๖ ครั้ง
ผลของการปฏิบัติสมาธิที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์ :กรณีศึกษาผู้ปฏิบัติธรรมโครงการเฉลิมพระเกียรติตามรอยเบื้องพระ ยุคลบาทวัดโสมนัสวิหาร(๒๕๕๑)
ชื่อผู้วิจัย : นางสุธรรมมา วรนาวิน ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๐๗/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสมบูรณ์ วุฒฺฑิกโร
  พล.ต. ดร.วีระ วงศ์สรรค์
  พล.ต. ดร.วีระ วงศ์สรรค์
วันสำเร็จการศึกษา : 25 กุมภาพันธ์ 2551
 
บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ
 (1) เพื่อศึกษาเรื่องความฉลาดทางอารมณ์ ในพระพุทธศาสนา
 (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับการปฏิบัติสมาธิ
 (3) เพื่อศึกษาผลของการปฏิบัติสมาธิที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์ของผู้ปฏิบัติธรรมโครงการเฉลิมพระเกียรติตามรอยเบื้อง
พระยุคลบาทวัดโสมนัสวิหาร วิธีดำเนินการวิจัย มี 2 วิธี คือ การวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research)
และการวิจัยกึ่งทดลอง(Quasi Experimental Research)
การวิจัยเชิงเอกสาร จากการศึกษาเรื่องความฉลาดทางอารมณ์ตามแนวทางนักจิตวิทยา
 พบว่าผู้มีความฉลาดทางอารมณ์ที่ดีจะมีลักษณะเป็นผู้ที่มีความสุข และประสบผลสำเร็จในชีวิต
ส่วนความฉลาดทางอารมณ์ในทัศนะของพุทธศาสนานั้น พุทธศาสนากล่าวถึงลักษณะของบุคคลที่ใกล้เคียงกับความฉลาดทาง
อารมณ์ว่าเป็นผู้มีจิตที่ได้รับการพัฒนาแล้วที่เรียกว่า “ภาวิตจิต” หรือ “พัฒนาจิต” และเป็นผู้มีจิตอันเป็นกุศล หรือมี “กุศลจิต”
หมายถึง การมีคุณภาพจิต สมรรถภาพจิต และสุขภาพจิต
ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับการปฏิบัติสมาธิ พบว่า
 การปฏิบัติสมาธิตามหลักพุทธศาสนาด้วยการพัฒนาสติอย่างต่อเนื่องบนฐานทั้ง 4 คือ กาย เวทนา จิต ธรรม
 นั้นส่งผลให้เกิดคุณลักษณะ 4 ประการ คือ พัฒนากาย พัฒนาพฤติกรรม พัฒนาจิต และ
พัฒนาปัญญาซึ่งเป็นการพัฒนาทั้งความฉลาดทางอารมณ์ และการพัฒนาความฉลาดทางปัญญาไปพร้อม อย่างไรก็ตามพุทธศาสนาเน้นการพัฒนาจิตมาเป็นอันดับต้น โดย
การพัฒนากายและพฤติกรรมเป็นการพัฒนาการทางสังคมก่อให้เกิดความฉลาดทางอารมณ์ ด้านดี
การพัฒนาปัญญา ก่อให้เกิดความฉลาดทางอารมณ์ ด้านเก่ง
การพัฒนาจิต เป็นการพัฒนาการทางอารมณ์ ก่อให้เกิดความฉลาดทางอารมณ์ ด้านสุข
การวิจัยกึ่งทดลอง(Quasi Experimental Research)
กลุ่มตัวอย่างคือผู้ปฏิบัติธรรมโครงการเฉลิมพระเกียรติตามรอยเบื้องพระยุคลบาทวัดโสมนัสวิหาร
จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติพบว่า หลังการปฏิบัติสมาธิตามโครงการนี้คะแนนความฉลาดทางอารมณ์ของผู้รับการฝึก
อบรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P< 0.01) แสดงว่าการปฏิบัติสมาธิสามารถนำมาใช้เพื่อเพิ่มระดับความฉลาด
ทางอารมณ์ได้ และจากการสัมภาษณ์ผู้รับการอบรมมีความพอใจ ประทับใจ เข้าใจและได้รับประสบการณ์ที่ดีเกี่ยวกับธรรม และการฝึก
จะนำกลับไปใช้ในชีวิตประจำวัน และอยากกลับมารับการอบรมอีกครั้งเมื่อมีโอกาส.
สรุปได้ว่าการปฏิบัติสมาธิตามหลัก พุทธศาสนาสามารถก่อให้เกิดความฉลาดทางอารมณ์ทั้งด้าน
 ดี เก่ง และ สุข ตามที่เป็นที่ต้องการของบุคคล.
Download :  255137.pdf

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕