หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูโอภาสประสิทธิคุณ(เกตุขาว)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๐ ครั้ง
การพัฒนาสังคมชาวสยามในรัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย (สาขาวิชาการพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูโอภาสประสิทธิคุณ(เกตุขาว) ข้อมูลวันที่ : ๑๘/๑๑/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูวิรัตธรรมโชติ
  กันตภณ หนูทองแก้ว
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๐
 
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑)เพื่อศึกษาการพัฒนาสังคมตามแนวคิดและทฤษฎีทั่วๆ ไป๒)  เพื่อศึกษาการพัฒนาสังคมชาวสยามในรัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซียและ ๓)  เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาสังคมชาวสยามในรัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซียเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  (Qualitative Research)เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาจากเอกสาร (Documentary Research) การสัมภาษณ์เชิงลึก(In depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants)และ การสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group)วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

              ผลการวิจัยพบว่า :

              ๑) แนวคิดทฤษฎีการพัฒนาสังคมในกลุ่มกระแสหลัก ได้แก่ทฤษฎีวิวัฒนาการ, ทฤษฎีวิวัฒนาการเชิงคลาสสิก, ทฤษฎีความทันสมัย, ทฤษฎีการพึ่งพา, ทฤษฎีโลกาภิวัฒน์, ทฤษฎีศักยภาพและการแพร่กระจาย, ทฤษฎีความทันสมัยด้วยการสื่อสารทฤษฎีการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมส่วนแนวคิดและทฤษฎีกระแสรองได้แก่ทฤษฎีเครือข่ายทางสังคมแนวคิดผู้แสดงทางสังคมแนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชนแนวคิดทฤษฎีใหม่แนวคิดประชาสังคมแนวคิดเรื่องภูมิปัญญาและทฤษฎีการพัฒนาสังคมของดร.เอนสมิงเงอร์

              ๒) การพัฒนาสังคมชาวสยามในรัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซียมีการพัฒนาการปรับตัวและการสร้างตัวตนทางวัฒนธรรมด้วยกระบวนการของเครือข่าย อันก่อให้เกิดพลังและมีความเป็นเอกภาพได้แก่ เครือข่ายภาษาไทยเครือข่ายวัดไทยเครือข่ายชาติพันธุ์เครือข่ายด้านขนบธรรมเนียมประเพณีและเครือข่ายการอยู่ร่วมเป็นสังคมทำให้ชุมชนชาวสยามสามารถรักษาสมดุลของกระบวนพัฒนาสังคมชาวสยามไว้ได้

๓) การนำเสนอรูปแบบการพัฒนาสังคมชาวสยามในรัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย ที่สะท้อนความเป็นชาวสยามที่ชัดเจน ได้แก่ โดยใช้รูปแบบการสร้างความร่วมมือ ในการนำเสนอการสื่อสารกันด้วยภาษาไทยถิ่นใต้ การแต่งกายด้วยผ้าไทย ผู้หญิงมีสไบพาด ผู้ใช้มีผ้าขาวม้าคาด และการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในวันสำคัญ และในชีวิตประจำวัน โดยมีกระบวนการในการพัฒนา ๕ ประการ ได้แก่ การสร้างเครือข่ายภาษาไทย  การสร้างเครือข่ายทางศาสนา โดยวัดไทย การสร้างเครือข่ายชาติพันธุ์ (ชาวสยาม) ในชุมชนต่างๆ และการสร้างเครือข่ายขนบธรรมเนียมประเพณี และการสร้างเครือข่ายการอยู่ร่วมเป็นสังคม กลุ่มสังคมการเมือง เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาสังคมชาวสยามให้มีอัตลักษณ์แบบไทยที่เป็นจุดเด่นของสังคมชาวสยาม

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕