เข้าชม : ๑๙๙๘๘ ครั้ง |
ศึกษารูปแบบและวิธีการสอนวิปัสสนากัมมัฎฐานในจังหวัดนครศรีธรรมราช |
|
ชื่อผู้วิจัย : |
พระครูภาวนากิจสุนทร (ฉัตรชัย อธิจิตฺโต (วิ.) |
ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๑๐/๒๐๑๙ |
ปริญญา : |
พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา) |
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ : |
|
พระราชปริยัติมุนี (เทียบ สิริญาโณ) |
|
แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม |
|
- |
วันสำเร็จการศึกษา : |
๒๐ มีนาคม ๒๕๖๒ |
|
บทคัดย่อ |
ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “ศึกษารูปแบบและวิธีการสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานในจังหวัดนครศรีธรรมราช” มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษารูปแบบและวิธีการสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคในการสอนวิปัสสนากัมมัฎฐานในจังหวัดนครศรีธรรมราช ๓) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบและวิธีการสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่าพบว่า การวิปัสสนากัมมัฎฐานที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนามีทั้ง สมถกรรมฐานและวิปัสสนากัมมัฎฐาน หลักปฏิบัติกัมมัฎฐานที่สมบูรณ์ที่สุดปรากฏอยู่ใน “มหาสติปัฏฐานสูตร” หมายถึง พระสูตรว่าด้วยการเจริญสติปัฎฐานสูตรใหญ่ ด้านปัญหาและอุปสรรคในการสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานของทั้ง ๓ สำนักปฏิบัติ พบว่า ๑) ปัญหาที่เกิดจากผู้ปฏิบัติบางส่วนมิได้มีศรัทธามาแต่เบื้องต้น จะเป็นอุปสรรคในการสอนแก่พระวิปัสสนาจารย์ เพราะคนกลุ่มนี้มิได้ตั้งใจปฏิบัติอย่างจริงจัง ๒) ปัญหาที่เกิดจากความแตกต่างของช่วงวัย จะเป็นปัญหาแก่พระวิปัสสนาจารย์ในการที่จะให้ธรรมะหรือจัดกิจกรรมให้เหมาะสม ๓) ปัญหาที่เกิดจากการยึดติดในรูปแบบที่เคยปฏิบัติ เป็นปัญหาที่เกิดจากผู้ปฏิบัติโดยตรง ทำให้เกิดปัญหาในการปรับตัว และเป็นอุปสรรคต่อการสอนของพระวิปัสสนาจารย์ ๔) ปัญหาที่เกิดจากการสอบอารมณ์กันเองในหมู่ผู้ปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติบางคนไปส่งอารมณ์กันเอง การไม่ส่งและสอบอารมณ์กันเองจึงมีผลเสียต่อผู้ปฏิบัติโดยตรง ด้านการวิเคราะห์รูปแบบและวิธีการสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานในจังหวัดนครศรีธรรมราชพบว่า แบ่งออกเป็นสองรูปแบบคือ รูปแบบที่เน้นสมถะ และรูปแบบที่เน้นวิปัสสนาตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งก็ไม่ต่างจากสำนักปฏิบัติอื่น ๆ ในประเทศไทย สำนักปฏิบัติทั้ง ๓ ได้นำรูปแบบดังกล่าวมาประยุกต์เข้ากับวิธีการสอนของตน รูปแบบดังกล่าวนี้เมื่อว่ากันแล้วก็ไม่แตกต่างจากรูปแบบหลัก ๆ ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทแต่อย่างใด
Download
|
|
|