หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ภินันท์ สิงห์กฤตยา
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๓ ครั้ง
กระบวนการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตามหลักเภสัชศาสตร์เชิงพุทธบูรณาการ
ชื่อผู้วิจัย : ภินันท์ สิงห์กฤตยา ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชปริยัติมุนี (เทียบ สิริญาโณ)
  แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๔ เมษายน ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ  () ศึกษาแนวคิดและวิธีการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตามหลักเภสัชศาสตร์ () ศึกษาแนวคิดและวิธีการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตามหลักพระพุทธศาสนา () สร้างกระบวนการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตามหลักเภสัชศาสตร์เชิงพุทธบูรณาการ การดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงคุณภาพกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในพระพุธศาสนา ในวิชาชีพเวชกรรม วิชาชีพเภสัชกรรม และวิชาชีพการสาธารณสุข

ผลการวิจัยพบว่า สุขภาพ คือ ภาวะแห่งความสมบูรณ์ ๔ มิติ คือ ทางด้านร่างกาย ทางด้านจิตใจ การดำรงชีวิตอยู่ในสังคมตลอดรวมถึงสิ่งแวดล้อมด้วยดี และทางปัญญา เป็นสุขภาพที่มีมุมมองที่กว้าง ที่มีลักษณะเป็นองค์รวม ที่แต่ละมิติมีความสอดรับ มีความสมดุล  มีความเกื้อหนุนส่งเสริมซึ่งกันและกัน สำหรับกระบวนการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตามหลักเภสัชศาตร์เชิงพุทธบูรณาการที่นำเสนอในวิจัยนี้ คือ “SCHEME” Model ซึ่งแปลว่า โครงการ แบบแผน กลวิธี ซึ่งผู้วิจัยให้ความหมายว่า คือ กลวิธีสำหรับการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังผ่านกระบวนการดังนี้

S (Sanitation) การสร้างอนามัย คือ การอยู่อาศัยในสิ่งแวดล้อมที่ดี มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี เช่น การตรวจสุขภาพตลอดรวมถึงการรักษาสุขภาพสม่ำเสมอ การดำเนินชีวิตด้วยไม่ประมาท การลด ละเลิกอบายมุข บุหรี่ สุรา และสารเสพติด เป็นต้น

C (Chanting) การสวดมนต์ การสวดมนต์บูรณาการกับการดูแลรักษาในทางการแพทย์ เช่น บทสวดมนต์เช้า-เย็น บทสวดโพชฌังคปริตร เป็นต้น การสวดมนต์สามารถทำให้จิตใจจะสงบพัฒนาให้เกิดสมาธิ ลดความเครียด และดำเนินชีวิตอย่างปกติสุข

H (Harmony) การสอดประสานกันระหว่างองค์ประกอบในการส่งเสริมสุขภาพต่างๆ สุขภาพจะดีได้ไม่สามารถกระทำวิธีการสร้างเสริมสุขภาพเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวได้ ต้องกระทำอย่างเป็นองค์รวมในหลายๆ ด้าน

E (Eating) การรับประทานอาหารบูรณาการกับการดูแลรักษาในทางการแพทย์ อาทิ การใช้ยาในการรักษา การรับประทานอาหารให้ครบ ๕ หมู่ ตามหลักโภชนาการในปริมาณพอประมาณ คือ โภชเนมัตตัญญุตา การรู้จักประมาณในการบริโภคเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงพอดำรงชีวิตอยู่

M (Meditation) การภาวนาทั้งสมถะและวิปัสสนาบูรณาการกับการดูแลรักษาในทางการแพทย์ การเจริญภาวนาส่งผลให้จิตใจสงบ ผ่อนคลาย โดยการปฏิบัติเจริญสติในรูปแบบ สติปัฏฐาน ๔ ที่กำหนดรู้อารมณ์ปัจจุบัน ที่เมื่อเกิดความเจ็บปวด ความทุกข์ ผู้ปฏิบัติที่เชี่ยวชาญย่อมสามารถกำหนดรู้ ไม่เกิดทุกข์ซ้อนทุกข์ สามารถเกิดสภาวะที่ว่าป่วยกายแต่ไม่ป่วยใจได้ อีกทั้งการปฏิบัติภาวนาสามารถช่วยให้ปรับสมดุลของร่างกาย

E (Exercise) การออกกำลังกาย บูรณาการกับการดูแลรักษาในทางการแพทย์การออกกำลังกายรูปแบบต่างๆ เช่น การเดิน การวิ่ง ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เดินจงกรม เป็นต้น โดยปรับให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของผู้ป่วยแต่ละคน

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕