หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูใบฎีกานิปุณ ญาณวีโร (นิตยพันธ์)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๙ ครั้ง
ปัจจัยจิตสังคมที่ส่งผลต่อสุขภาวะทางจิตของพระสังฆาธิการในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 10 (สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูใบฎีกานิปุณ ญาณวีโร (นิตยพันธ์) ข้อมูลวันที่ : ๒๖/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาเผื่อน กิตติโสภโณ
  ประยูร สุยะใจ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาคือ ๑. เพื่อศึกษาระดับสุขภาวะทางจิตของพระสังฆาธิการในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๐ ๒. เพื่อศึกษาศึกษาความแตกต่างของระดับสุขภาวะทางจิตของพระสังฆาธิการจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจิตสังคมและสุขภาวะทางจิตของพระสังฆาธิการในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๐              เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  คือ  แบบสอบถามซึ่งประกอบไปด้วย  ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม  แบบสอบถามปัจจัยจิตสังคมและสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย  การแจกแจงความถี่  (Frequency  Distribution)  ค่าร้อยละ  (Percentage)  ค่าเฉลี่ย (Mean)  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบความแตกต่างในระดับการรับรู้เกี่ยวกับสุขภาวะทางจิตของพระสังฆาธิการด้วยการทดสอบที (t-test)  การทดสอบความแปรปรวน (F-test)  แบบ  One  Way  ANOVA  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือกลุ่มพระสังฆาธิการในเขตการปกคครองคณะสงฆ์ภาค ๑๐ จำนวน ๓๘๐ รูป

              ผลการวิจัยพบว่าระดับการรับรู้ปัจจัยจิตสังคม (ตัวแปรต้น) และสุขภาวะทางจิต (ตัวแปรตาม) ของพระสังฆาธิการปรากฏผลดังนี้ ในด้านการปกครองตามหลักพรหมวิหาร ๔ มีค่าเฉลี่ย ๓.๗๔ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ๐.๔๔๕ รองลงมาด้านบทบาทพระสังฆาธิการ มีค่าเฉลี่ย ๓.๖๘ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ๐.๖๐๒ ถัดมาเป็นด้านแนวโน้มความรู้สึก มีค่าเฉลี่ย ๓.๑๒ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ๐.๕๑๑ ตามด้วยด้านสุขภาวะทางจิต มีค่าเฉลี่ย ๓.๓๒ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ๐.๔๑๓

              ในการทดสอบสมมติฐานพบว่าพระสังฆาธิการที่มีอายุ อายุพรรษา การศึกษาฝ่ายอาณาจักรและการดำรงตำแหน่งพระสังฆาธิการต่างกันมีสุขภาวะทางจิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕ ส่วนพระสังฆาธิการที่มีระดับศึกษาแผนกธรรม ระดับการศึกษาแผนกบาลี สมณศักดิ์ ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งพระสังฆาธิการ การเป็นและไม่เป็นพระอุปัชฌาย์และการเป็นและไม่เป็นโรคต่างกันไม่พบความแตกต่างของสุขภาวะทางจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕      

              ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจิตสังคมและสุขภาวะทางจิตพบว่าปัจจัยด้านการปกครองตามหลักพรหมวิหาร ๔ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปัจจัยด้านแนวโน้มความรู้สึกในระดับปานกลาง และสัมพันธ์เชิงบวกกับปัจจัยด้านบทบาทพระสังฆาธิการในระดับสูง นอกจากนี้ยังสัมพันธ์เชิงบวกกับปัจจัยด้านสุขภาวะทางจิตในระดับปางกลาง แต่ละคู่ปัจจัยในกลุ่มนี้สัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๑

              ปัจจัยด้านแนวโน้มความรู้สึกสัมพันธ์เชิงบวกกับปัจจัยด้านบทบาทพระสังฆาธิการในระดับปานกลาง และยังสัมพันธ์เชิงบวกกับปัจจัยด้านสุขภาวะทางจิตในระดับปานกลาง แต่ละคู่ปัจจัยในกลุ่มนี้สัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๑

              ส่วนปัจจัยด้านบทบาทพระสังฆาธิการสัมพันธ์เชิงบวกกับปัจจัยด้านสุขภาวะทางจิตในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๑

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕