หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูปลัดอเนก ปุณฺณวุฑฺโฒ (แก้วดวงดี)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๖ ครั้ง
รูปแบบการบริหารตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 (สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูปลัดอเนก ปุณฺณวุฑฺโฒ (แก้วดวงดี) ข้อมูลวันที่ : ๒๖/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  วรกฤต เถื่อนช้าง
  วินัย ทองมั่น
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์  ๑) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารตามหลักไตรสิกขา ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๕  ๒) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารตามหลักไตรสิกขา ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๕ และ ๓) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารตามหลักไตรสิกขา ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๕

การวิจัยเรื่องนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงพรรณนา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และ

เชิงปริมาณ แบ่งออกเป็น ๓ ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ ๑ ศึกษาสภาพการบริหารตามหลักไตรสิกขา ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๕ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน ๒๑ รูป/คน ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ ๒ สร้างรูปแบบการบริหารตามหลักไตรสิกขา ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๕ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน ๙ รูป/คน โดยการจัดสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้คือ

แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ ๓ ประเมินรูปแบบการบริหารตามหลักไตรสิกขา ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๕ จากผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้อำนวยการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๕ จำนวน ๓๐ คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบประเมินรูปแบบใน ๔ ด้าน คือ โดยประเมินความถูกต้องของรูปแบบ ความเหมาะสมของรูปแบบ ความเป็นไปได้ของรูปแบบ และประโยชน์ของรูปแบบ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงปริมาณ สถิตที่ใช้เครื่องมือ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)


 

ผลการวิจัยพบว่า

๑. สภาพการบริหารตามหลักไตรสิกขา ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๕ พบว่า ๑) ด้านการบริหารงานวิชาการ มีการพัฒนาหลักสูตร การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี การนิเทศการศึกษา การแนะแนวการศึกษา การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ๒) ด้านการบริหารงานบุคลากร มีการคัดเลือกบุคคล การจัดปฐมนิเทศ การจัดฝึกอบรม การประเมินผล การสร้างแรงจูงใจ การจัดสวัสดิการและหลักประกันในการทำงาน ๓) ด้านการบริหารงานงบประมาณ มีการจัดทำและเสนอของบประมาณ การจัดสรรงบประมาณ การติดตามตรวจสอบประเมินผล และรายงานการใช้เงิน ๔) ด้านการบริหารงานทั่วไป มีการดำเนินงานธุรการ งานเลขานุการ การพัฒนาระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ งานประสานงานเครือข่าย งานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา งานส่งเสริมสนับสนุนทางวิชาการ การบริหารจัดการอาคารสถานที่และสภาพสิ่งแวดล้อม งานประชาสัมพันธ์

๒. การสร้างรูปแบบการบริหารตามหลักไตรสิกขา ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๕ พบว่า ๑) ด้านการบริหารงานวิชาการ คือ การพัฒนาหลักสูตร การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การส่งเสริมให้มีกฎระเบียบและคู่มือการวัดผลประเมินผล ส่งเสริมสนับสนุนให้นำสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีไปใช้กับการเรียนการสอน ๒) ด้านการบริหารงานบุคคล คือ วางแผนอัตรากำลังคน ตามระเบียบ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับให้สอดคล้องและเหมาะสมกับภารกิจของสถานศึกษา การยกย่องเชิดชูเกียรติครูและบุคคลากรในสถานศึกษา การอบรมส่งเสริมให้ข้าราชการครูและบุคลากร มีวินัย มีคุณธรรมจริยธรรม และมีมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ ๓) ด้านการบริหารงบประมาณ คือ การจัดทำแผนและคู่มือปฏิบัติการใช้จ่ายเงินตามระเบียบ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับของทางราชการ การพัฒนาระบบการตรวจสอบติดตามและรายงานการใช้งบประมาณ จัดทำและจัดหาพัสดุนำไปใช้ตามความต้องการของโรงเรียน จัดทำรายงานทางการเงินและงบประมาณ ให้ถูกต้องตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ ๔) ด้านการบริหารงานทั่วไป คือ การจัดทำแผนและคู่มืองานธุรการ ตามระเบียบ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับของทางราชการ มีการส่งเสริมสนับสนุนให้มีการปฏิบัติงานพัฒนางานสื่อสารประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการปฏิบัติงานพัฒนาอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม สนับสนุนให้มีการปฏิบัติงานอนามัย และการส่งเสริมสนับสนุนให้มีการปฏิบัติงานบริการและความสัมพันธ์ชุมชนตามแผนและคู่มือที่กำหนด

๓. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารตามหลักไตรสิกขา ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๕ ใน ๔ ด้าน คือ ๑) ด้านความถูกต้องของรูปแบบ

อยู่ในระดับมาก ๒) ด้านความเหมาะสมของรูปแบบ อยู่ในระดับมาก ๓) ด้านความเป็นไปได้ของรูปแบบ อยู่ในระดับมาก และ ๔) ด้านประโยชน์ของรูปแบบ อยู่ในระดับมาก

 

 

 Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕