หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาภาคภูมิ ฐานิสฺสโร (นาคทั่ง)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๖ ครั้ง
การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้แบบฝึกทักษะนิทานชาดกรายวิชาพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดดอกไม้ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร (สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาภาคภูมิ ฐานิสฺสโร (นาคทั่ง) ข้อมูลวันที่ : ๒๕/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ
  สมชัย ศรีนอก
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบเชิงทดลอง (Experimental Research) มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์จากนิทานชาดกรายวิชาพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนวัดดอกไม้ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร ๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การคิดวิเคราะห์จากนิทานชาดกก่อนเรียนและหลังเรียน รายวิชาพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนวัดดอกไม้ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ห้อง ๔/๑ จำนวนทั้งหมด ๓๐ คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์จากนิทานชาดก จำนวน ๔ ชุด หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓ เรื่อง หลักธรรมและการปฏิบัติตนตามคำสอนของพระพุทธศาสนา จำนวน ๕ แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบทักษะการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน ๒๐ ข้อ

ผลการวิจัยพบว่า

๑) ผลการศึกษาการพัฒนาแบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์จากนิทานชาดกรายวิชาพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนวัดดอกไม้ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร มีประสิทธิภาพ เนื้อหาต้องไม่ยาวเกินไปไม่สั้นเกินไป ใช้ภาษาที่สละสลวย อ่านแล้วเกิดความรู้ความเข้าใจนำไปสู่กระบวนการคิดวิเคราะห์ได้อย่างเป็นระบบ เกิดแรงบันดาลใจในการอ่านสามารถบอก สรุป อธิบาย เรื่องที่อ่านได้อย่างเป็นขั้นตอน เชื่อมโยงกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้

๒) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การคิดวิเคราะห์จากนิทานชาดกก่อนเรียนและหลังเรียน รายวิชาพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนวัดดอกไม้ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓ เรื่อง หลักธรรมและการปฏิบัติตนตามคำสอนของพระพุทธศาสนา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การคิดวิเคราะห์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๕

ผลการวิจัยโดยภาพรวม พบว่า ผู้เรียนมีความสนใจอยากรู้อยากเห็นในเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น สามารถแยกแยะลำดับเนื้อหาได้ดี ผลสัมฤทธิ์การคิดวิเคราะห์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แสดงว่าการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์จากนิทานชาดก สามารถพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนได้จริง

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕