หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระจักร จกฺกวโร (เหมือนปืน)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๖ ครั้ง
การจัดการเรียนรู้ตามหลักอิทธิบาท 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 (สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระจักร จกฺกวโร (เหมือนปืน) ข้อมูลวันที่ : ๒๕/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  รัชนี จรุงศิรวัฒน์
  ประยูร แสงใส
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพ และเปรียบเทียบ รวมทั้งศึกษาแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักอิทธิบาท ๔ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๕

การวิจัยนี้ เป็นวิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีโดย (mixed methods) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๕ ปีการศึกษา ๒๕๖๑ จำนวน ๑๘๗ คน  และกลุ่มเป้าหมาย คือผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน ๑๐ คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency), คาร้อยละ(Percentage), คาเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Wey ANOVA) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์วิเคราะห์สถิติสำเร็จรูป

 

ผลการวิจัยพบว่า

 

๑) การจัดการเรียนรู้ตามหลักอิทธิบาท ๔ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๕ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้ออยู่ในระดับมากทุกข้อ เรียงจากมากไปหาน้อย คือ ด้านจิตตะ ด้านฉันทะ ด้านวิริยะ และด้านวิมังสา ตามลำดับ

 

๒) การวิเคราะห์การเปรียบเทียบ การจัดการเรียนรู้ตามหลักอิทธิบาท ๔ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๕ จำแนกตามระดับการศึกษา และจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

 

๓) การวิเคราะห์ข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักอิทธิบาท ๔ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๕ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า ครูผู้สอนมีควรปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้และส่งเสริม คุณธรรมจริยธรรม จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชุมชนและแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่ โดยการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ในขั้นเรียนให้นักเรียน ควรจัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย นำภูมิปัญญาท้องถิ่นเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ เรียนรู้จากประสบการณ์จริง เพื่อให้นักเรียนฝึกสติ รับรู้ในสิ่งที่ทำ และทำสิ่งนั้นด้วยความคิดสร้างสรรค์ เกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านพฤติกรรม ความคิด สติปัญญา เพราะจะสามารถช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี เกิดประสิทธิผลในการนำมาปรับใช้กับนักเรียนมากขึ้น และแสดงความสามารถที่ได้เรียนในสิ่งที่ชอบ และสนใจ เพื่อให้นักเรียนประสบความสำเร็จยิ่งๆขึ้นไป

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕