หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » บัญชา ฮ้อแสงชัย
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๐ ครั้ง
แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรวิศวกรสันติภาพเชิงพุทธบูรณาการ : ศึกษากรณีหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (สาขาวิชาสันติศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : บัญชา ฮ้อแสงชัย ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส (นิธิบุณยากร)
  พระมหาดวงเด่น ฐิตญาโณ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๗ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และปัญหาในการดำเนินงานของหลักสูตรวิศวกรสันติภาพ ตามหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๒) เพื่อศึกษาการพัฒนาหลักสูตรวิศวกรสันติภาพในวิทยาการสมัยใหม่ และพุทธศาสนาเถรวาท ๓) เพื่อเสนอแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรวิศวกรสันติภาพเชิงพุทธบูรณาการ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือกลุ่มผู้บริหารของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นักวิชาการ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มย่อย และนำเสนอผลการวิจัยในลักษณะวิเคราะห์และพรรณนา

          ผลการวิจัยพบว่า

          . จากการทำ SWOT ANALYSIS ทั้ง ๖ ด้าน คือ ๑) ด้านเนื้อหาสาระวิชาการ ๒) ด้านการจัดการเรียนการสอน ๓) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ๔) ด้านสื่ออุปกรณ์สนับสนุนการศึกษา ๕) ด้านการวัดผลและประเมินผลการศึกษา ๖) ด้านคุณสมบัติผู้สอน พบว่าหลักสูตรมีจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค แตกต่างกันออกไปในรายละเอียดของแต่ละด้าน

๒. ทฤษฎีในวิทยาการสมัยใหม่ทฤษฎีของไทเลอร์ ซึ่งเป็นทฤษฎีที่เกี่ยวกับ กระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด การใช้เทคโนโลยี ส่วนหลักธรรมที่ใช้ในหลักสูตรมี ๓ หลักธรรม ได้แก่ หลักไตรสิกขา หลักธรรมแห่งความสำเร็จ หรือ อิทธิบาท ๔ และ หลักธรรมชุด ๓ เพื่อสลายความขัดแย้ง คือ สติ ขันติ และสันติ หลักธรรมเหล่านี้จะใช้ร่วมกับหลักสูตรฯ เพื่อการพัฒนาชีวิต และสังคม

          . แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตร เป็นไปในทิศทางที่ดี ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า หากหลักสูตรได้รับการพัฒนาโดยใช้แนวคิดทฤษฏีวิทยาการสมัยใหม่ควบคู่ไปกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่นำเสนอในงานวิจัย ทั้งนี้ เพื่อการดำรงอยู่ในศตวรรษที่ ๒๑ อันเป็นสิ่งจำเป็นต่อความต้องการของสังคม

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕