หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นงลักษณ์ ลักษณะโภคิน
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๒ ครั้ง
การสร้างตัวชี้วัดองค์กรสันติสุขในพุทธศตวรรษที่ 26 (สาขาวิชาสันติศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : นงลักษณ์ ลักษณะโภคิน ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส (นิธิบุณยากร)
  พระมหาดวงเด่น ฐิตญาโณ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๗ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาองค์ประกอบองค์กรสันติสุขในพุทธศตวรรษที่ ๒๖  (๒) เพื่อสร้างตัวชี้วัดองค์กรสันติสุขในพุทธศตวรรษที่ ๒๖ และ (๓) เพื่อยืนยันตัวชี้วัดองค์กรสันติสุขในพุทธศตวรรษที่ ๒๖ โดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบผสาน (mixed methods research) ได้แก่ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยการวิจัยเอกสาร (Document research), การใช้เทคนิค EDFR (Ethnographic Delphi Future technique) และการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ (Focus group) สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบและตัวชี้วัดขององค์กรสันติสุข จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน ๓๓๗ คน และทำการวิเคราะห์ผลการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการวิจัยเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ ค่ามัธยฐาน (Median), ฐานนิยม (Mode), ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Interquartile Range) และสถิติเชิงอนุมาณ (Inferential Statistics) ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory analysis) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis)

       ผลการวิจัยพบว่า องค์กรสันติสุขในพุทธศตวรรษที่ ๒๖มีชื่อว่า 6Ps Model” ประกอบด้วย  ๖ องค์ประกอบหลัก ได้แก่ (๑) การจัดการเพื่อสันติสุข (Peaceful Management :PM) (๒) ภาวะผู้นำเพื่อสันติสุข (Peaceful Leadership :PL) (๓) การกำกับดูแลเพื่อสันติสุข(Peaceful Governance :PG) (๔) ความยุติธรรมเพื่อสันติสุข(Peaceful Justice :PJ) (๕) ที่ทำงานเพื่อสันติสุข(Peaceful Workplace :PW) และ (๖) ผลลัพธ์เพื่อสันติสุข(Peaceful Results :PR) โดยมี ๑๔ องค์ประกอบย่อย ได้แก่ (๑)การสื่อสารในองค์กร (๒)วัฒนธรรมองค์กร (๓) การจัดการความรู้ (๔) การบริหารจัดการองค์กร (๕) ภาวะผู้นำ (๖) บุคลากรในองค์กร (๗) คุณค่าหลัก (๘) หลักธรรม คุณธรรม จริยธรรมขององค์กร (๙) ความรับผิดชอบต่อสังคม (๑๐) ธรรมาภิบาล (๑๑) องค์กรมุ่งเน้นให้พนักงานมีความสุข (๑๒) องค์กรสร้างบรรยากาศให้มีความสุข (๑๓) ผลการดำเนินงานขององค์กร และ (๑๔) การประสานประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และมี ๑๖o ตัวชี้วัด โดยมีค่าดัชนีความกลมกลืนของโมเดล χ2 = ๑๑๙.๒๒, df = ๙๙,  p-value = ๐.๐๘๑๔๐, GFI = ๐.๙๖, AGFI = ๐.๙๓, RMR = ๐.๐๐๕๘, RMSEA = ๐.๐๒๕ และ CN= ๓๖๖.๖๖

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕