หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาสุริยะ มทฺทโว (มาธรรม)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๘ ครั้ง
ประสิทธิผลการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาสุริยะ มทฺทโว (มาธรรม) ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  อนุวัต กระสังข์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑. เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ๒. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประสิทธิผลการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคล ๓. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การวิจัยเชิงสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง คือประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลหมูสี จำนวน ๓๘๘ คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๑๒ คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

 

ผลการวิจัยพบว่า

๑. ระดัประสิทธิผลการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง  จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (  = ๓.๔๕, S.D. = ๐.๗๑๖) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการกำหนดองค์กรรับผิดชอบ (  = .๕๒, S.D. = ๐.๗๙๒) อยู่ในระดับมาก ส่วน ด้านการกำหนดนโยบาย (  = .๔๗, S.D. = ๐.๘๑๓) ด้านการวางแผนดำเนินงาน (  = .๔๑, S.D. = ๐.๘๒๐) ด้านการบริหารโครงการ (  =.๔๘, S.D. = ๐.๘๐๔) และ ด้านการประเมินผลโครงการ (  = .๓๙, S.D. = ๐.๘๗๑) อยู่ในระดับปานกลาง

๒. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประสิทธิผลการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามปัจจัยส่วน
บุคลพบว่า ประชาชนที่มี อาชีพและรายได้ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการจัดการสิ่งแวดล้อม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มี เพศ อายุและระดับการศึกษา ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการจัดการสิ่งแวดล้อม ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย

๓. ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ๑) ด้านการกำหนดองค์กรรับผิดชอบ ผู้รับผิดชอบยังมีจำนวนจำกัดสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ มีเครื่องมือที่ไม่เพียงพอและปฏิบัติหน้าที่หนึ่งคนรับผิดชอบงานหลายด้าน ทำให้มีอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า ๒) ด้านการกำหนดนโยบาย ประชาชนในท้องที่และนักท่องเที่ยวบางส่วนไม่ใส่ใจในนโยบายของเทศบาลและยังขาดการประชาสัมพันธ์เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย ๓) ด้านการวางแผนดำเนินงาน ประชาชนไม่ได้รับข่าวสาร/เทศบาลไม่ได้มีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับแผนดำเนินงาน ผลทำให้เทศบาลไม่ได้ทราบปัญหาที่แท้จริงจากประชาชนในพื้นที่ ๔) ด้านการบริหารโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการและวัสดุอุปกรณ์ยังไม่เพียงพอ ทำให้ผู้รับผิดชอบปฏิบัติงานหลายด้าน ดูแลไม่ทั่วถึง  ๕) ด้านการประเมินผลโครงการ คณะกรรมการยังขาดความรู้ความเข้าใจโดยตรงในการประเมินผลโครงการ ไม่มีการแจ้งผลประเมินให้ประชาชนได้ทราบอย่างทั่วถึง

ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ๑) ด้านการกำหนดองค์กรรับผิดชอบ ควรเพิ่มจำนวนผู้รับผิดชอบให้มากขึ้นและจัดหาเครื่องมือ/วัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ ๒) ด้านการกำหนดนโยบาย ควรทำประชาพิจารณ์จากพื้นที่ชุมชนเพื่อนำมากำหนดนโยบายได้ตรงตามปัญหาอย่างแท้จริงและเมื่อกำหนดนโยบายแล้วควรที่จะติดตามผลของนโยบายนั้นๆ  ๓) ด้านการวางแผนดำเนินงาน ประชาชนต้องให้ความร่วมมือในการลงพื้นที่สำรวจหรือการให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ที่เป็นจริง จัดให้มีการอบรมให้ความรู้กับประชาชนในชุมชนและควรสร้างเครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมขึ้นมาเพื่อให้มีหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชนในการวางแผนดำเนินงาน ๔) ด้านการบริหารโครงการ ควรจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอสำหรับการบริหารโครงการ ๕) ด้านการประเมินผลโครงการ ควรจัดตั้งคณะกรรมการที่มีความรู้ความเข้าใจด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยตรงในการประเมินผลโครงการและควรมีการแจ้งผลประเมินให้ประชาชนได้ทราบอย่างทั่วถึง เช่น ทางอินเตอร์เน็ต เว็บไซต์ เป็นต้น

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕