หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ขันทอง วิชาเดช
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๓ ครั้ง
การแผ่เมตตาในสังคมไทยตามคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : ขันทอง วิชาเดช ข้อมูลวันที่ : ๑๕/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร
  ประพันธ์ ศุภษร
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑ กันยายน ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “การแผ่เมตตาในสังคมไทยตามคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท”  มีวัตถุประสงค์ ประการคือ  (๑) เพื่อศึกษาการแผ่เมตตาที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท (๒) เพื่อศึกษาการแผ่เมตตาในสังคมไทย และ (๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การแผ่เมตตาในสังคมไทย ตามคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาเอกสาร และสัมภาษณ์เชิงลึก

             ผลการวิจัยพบว่า การแผ่เมตตาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทคือ ความปรารถนาดีต่อตนเองอย่างยิ่งด้วยชีวิตและต่อผู้อื่น โดยมีความประพฤติที่ดีทางกาย วาจา ใจ ที่เป็นประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย มีการพิจารณาแต่ความดีของสัตว์ทั้งหลาย เมื่อเกิดตัณหาจึงเป็นความเสื่อมของเมตตา ซึ่งมีราคะและพยาบาทเป็นศัตรูของเมตตา ประเภทของเมตตา กล่าวโดยไม่เจาะจงผู้รับ มี ๕ โดยเจาะจงผู้รับมี ๗ โดยเจาะจงและไม่เจาะที่อยู่ในทิศทั้ง ๑๐ โดยแผ่ตามอาการแห่งเมตตา ๔ ได้แก่ (๑) จงเป็นผู้ไม่มีเวร (๒) ไม่เบียดเบียนกัน (๓) ไม่มีทุกข์ และ (๔) รักษาตนอยู่แป็นสุขเถิด ไปในบุคคล ๑๒ ไปในทิศทั้ง ๑๐ คุณสมบัติของผู้แผ่เมตตามี ๒ ประการคือ (๑) ละนิวรณ์ ๕ และ (๒) ได้จตุตถฌาน

             ปัญหาการแผ่เมตตาในสังคมไทยพบว่า เกิดจากความประพฤติที่ไม่ดีเป็นอกุศล นำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่ชีวิตและทรัพย์สิน สร้างความเสียหายแก่ตนและคนอื่น ทั้งที่เป็นครอบครัว สังคม และประเทศชาติ ผลกระทบของการขาดเมตตา เกิดจากความประพฤติที่แสดงออกมา ๓ ทาง คือทางกาย วาจา และใจ เช่น การชกต่อย การทำร้าย เข่นฆ่า ข่มขืน เป็นต้น ที่ปรากฏตามข่าวทางวิทยุ หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ สื่อออนไลน์ เป็นต้น ซึ่งมีปัญหาหลายด้าน และหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น วัยรุ่น มีพฤติกรรมเชิงลบที่น่ากลัว เพราะการขาดเมตตา ส่งผลกระทบต่อชีวิตทรัพย์สินทั้งสุขภาพร่างกายจิตใจของตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ สร้างความเสียหายต่อสังคม เศรษฐกิจ และบ้านเมือง ทั้งเป็นอันตรายในปัจจุบันและอนาคต เพราะวัยรุ่นเป็นกำลังของชาติ การป้องกันการขาดเมตตา ด้วยการเข้าถึงกลุ่มปัญหาโดยเฉพาะวัยรุ่น โดยจัดโครงการอบรมศีลธรรมที่เน้นเรื่องเมตตา ให้เด็กเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจและมีทางออกให้กับตนเองเมื่อประสบปัญหาดังกล่าว ถ้าหากวัยรุ่นมีพฤติกรรมที่เสื่อมเสีย จากการประพฤติผิดศีลธรรมแล้ว ประเทศชาติอันเคยสงบสุข ก็จักมีแต่ความเดือดร้อนวุ่นวาย

          วิเคราะห์การแผ่เมตตาในสังคมไทยตามคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท การแก้ปัญหาในสังคมไทยมีหลายรูปแบบ เพราะมีสาเหตุที่แตกต่างกัน ทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและองค์ประกอบต่าง ๆ กัน สิ่งสำคัญคือ ศีลธรรม อันเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ผู้วิจัย มองปัญหาสังคมไทยคือ การประพฤติผิดธรรมวินัย อันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ วัฒนธรรม จารีต ประเพณีแต่ดั้งเดิม การมองด้านพฤติกรรมที่เกิดจากสภาพจิตใจ การขาดเมตตาต่อกันในสังคมไทย ซึ่งเห็นได้จากสภาพความเสื่อมโทรมของวัดวาอาราม ตลอดจนประเพณีวัฒนธรรมของชาวพุทธที่ไม่ได้รับความสนใจในยุคปัจจุบัน

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕