หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » กตัญญู เรือนตุ่น
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๓ ครั้ง
แนวทางการส่งเสริมอัตลักษณ์วัฒนธรรมประเพณีเชิงพุทธล้านนาของ จังหวัดลำปาง
ชื่อผู้วิจัย : กตัญญู เรือนตุ่น ข้อมูลวันที่ : ๑๕/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พูนชัย ปันธิยะ
  เทพประวิณ จันทร์แรง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๘ มกราคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

 

การวิจัยเรื่อง แนวทางการส่งเสริมอัตลักษณ์วัฒนธรรมประเพณีเชิงพุทธล้านนาของจังหวัดลำปางนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑.  เพื่อศึกษาความเป็นมาและความสำคัญของวัฒนธรรม ประเพณีล้านนา 2. เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมประเพณีล้านนาของจังหวัดลำปาง 3. เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมอัตลักษณ์วัฒนธรรมประเพณีเชิงพุทธล้านนาจังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า  

วัฒนธรรมประเพณีเชิงพุทธล้านนาจังหวัดลำปาง มีอัตลักษณ์ที่มาจากคำสอน ความเชื่อ วิถีชีวิตและอาชีพของคนในชุมชน พิธีกรรมทางศาสนา วัฒนธรรมดั้งเดิม ได้แก่ ด้านภาษาพูด ภาษาเขียน อาหารการกิน การแต่งกาย ที่อยู่อาศัย รวมถึงอัธยาศัยไมตรีของคนในชุมชน

อัตลักษณ์วัฒนธรรมประเพณีที่โดดเด่นของจังหวัดลำปาง ได้แก่ ประเพณีแห่สลุงหลวง ประเพณีตี๋ก๋องปู่จา ประเพณีล่องสะเปาจาวละกอน (ลอยกระทง) และ ประเพณียอคุณแม่น้ำ (วัง)

 

แนวทางการส่งเสริมอัตลักษณ์วัฒนธรรมประเพณีเชิงพุทธล้านนาของจังหวัดลำปาง จะต้องได้รับความร่วมมือจากคณะสงฆ์ องค์กรภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน ผู้นำชุมชน ประชาชน ประกอบด้วยแนวทาง ๗ ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการจัดการวัฒนธรรมและวิธีการถ่ายทอดวัฒนธรรมของล้านนา  2) ด้านการทำนุบำรุงส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น  3) ด้านการสืบทอดวัฒนธรรม
4) ด้านการพัฒนาวัฒนธรรม 5) ด้านการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ 6) ด้านการศึกษา 7) ด้านการท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีที่สำคัญและอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของจังหวัดลำปางสืบไป  

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕