หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ภูริวัจน์ ปุณยวุฒิปรีดา
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๓ ครั้ง
การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาทางพุทธศาสนาในการจัดการสิ่งแวดล้อมด้านป่าไม้ของพระสงฆ์นักพัฒนา (สาขาวิชาการพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : ภูริวัจน์ ปุณยวุฒิปรีดา ข้อมูลวันที่ : ๐๔/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  โกนิฏฐ์ ศรีทอง
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภูมิปัญญาทางพุทธศาสนาในการจัดการสิ่งแวดล้อมด้านป่าไม้ เพื่อวิเคราะห์การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาทางพุทธศาสนา ในการจัดการสิ่งแวดล้อมด้านป่าไม้และเพื่อนำเสนอแนวทาง ในการจัดการสิ่งแวดล้อมด้านป่าไม้ โดยภูมิปัญญาทางพุทธศาสนาผู้ให้ข้อมูล คือพระสงฆ์นักพัฒนาที่ได้รับการแต่งตั้ง จากป่าไม้เขต ป่าไม้จังหวัด ป่าไม้อำเภอ อุทยานแห่งชาติ ให้เป็นผู้เข้าร่วมในการอนุรักษ์ป่าไม้และสิ่งแวดล้อม เป็นผู้นำชุมชนและเป็นจุดศูนย์กลางชุมชนและผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่ป่าไม้ เจ้าหน้าที่อุทยาน จำนวน ๑๗ จังหวัด ๓ ภาค คือ ภาคกลาง ภาคอีสาน  ภาคเหนือ และการทำ Group Discussion จำนวน ๙ ท่าน ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิชาการและด้านการรักษาอนุรักษ์ป่าไม้ของรัฐ

ผลการวิจัยพบว่า

๑. ด้านการศึกษาภูมิปัญญาทางพุทธศาสนาในการจัดการสิ่งแวดล้อมด้านป่าไม้ นั้นได้ศึกษาทั้ง ๓ ภาค มีรูปแบบการใช้หลักพุทธศาสนาเพื่อสร้างภูมิปัญญาที่จะทำมาประยุกต์ แต่ละภาคต่างกันด้วยพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ชุมชน การประกอบอาชีพของชุมชน และลักษณะของประเภทผืนป่า ป่าอุดมสมบูรณ์ ป่าแห้งแล้งเป็นต้น จึงต้องใช้หลักธรรมที่แตกต่างกันไป เช่น

ภาคกลางใช้หลักธรรมศีล ๕ และ หลักไตรสิกขา เป็นพื้นฐานที่ใช้ภูมิปัญญาทางพุทธศาสนามาสร้างกิจกรรม อาชีพ สร้างความสามัคคี อบรมการรักษาสิ่งแวดล้อมและการปลูกป่า และการสร้างวัฒนะธรรมท้องถิ่น เพื่อการรักษาป่าไม้ ส่วนทางภาคอีสานใช้หลักธรรมด้านอริยะสัจ ๔ และหลักธรรมศีล ๕ และหลักเมตตา อุเบกขา เพื่อสร้างภูมิปัญญาทางพุทธศาสนา ด้านเยาวชนจากวัดไปสู่พ่อ แม่ และครอบครัว ด้านความมีเมตตาต่อกันในการอยู่ร่วมกันโดยการสร้างวัดสร้างโรงทานของอุปโภคบริโภคที่ได้มาจากภาครัฐและวัดต่างๆ ร่วมกันสร้างกิจกรรมสอนอาชีพการเรียนรู้         ตั้งชมรมและสมาชิกของท้องถิ่นที่มี เช่น ด้านอาหารงานหัตกรรม สร้างแหล่งท่องเที่ยวให้กับชุมชนมีรายได้ เพื่อชาวบ้านอยู่ดี กินดีมีความร่วมมือในการอนุรักษ์ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมผืนป่าก็จะมีแรงกายและใจมาช่วยกันโดยไม่ต้องชักจูงหรือบังคับ เพราะใช้หลักเมตตาพระสงฆ์เป็นผู้ให้มากกว่าเป็นผู้รับที่เป็นภูมิปัญญาที่สร้างงาน สร้างคน ให้มีความสุขด้วยสภาพการเป็นอยู่ก่อน เพื่อตอบรับการขอความร่วมมือซึ่งเป็นการสร้างความศรัทธาให้กับชุมชน

ภาคเหนือ ใช้หลักพุทธศาสนาสร้างภูมิปัญญาด้วยหลักความเพียร ขันติ วิริยะ อุสาหะ ศีล สมาธิ ปัญญา เมตตาและการมีหิริโอตตัปปะ เพื่อสร้างภูมิปัญญาของความขยันอดทน หมั่นทำและการให้ในสิ่งที่ขาดและสร้างในสิ่งที่ต้องการ ถึงจะมีคุณค่า เช่น การร่วมมือกับสร้างแหล่งน้ำหรือ ประปา เพื่อมาสู่ชุมชนในลักษณะใครทำ ใครได้ใช้ จึงทำให้เกิดความร่วมมือที่จะทำและสร้างในสิ่งที่ขาดด้วยความเพียรและขันติ เพื่อให้ได้มาและเกรงกลัวในสิ่งบาป เพื่อคิดจะทำจึงต้องมีหลักธรรมมาใช้ลักษณะภูมิปัญญาการสร้างด้วยตนเอง โดยมีวัดเป็นกำลังหลักสำคัญ เช่น สร้างแหล่งท่องเที่ยว ศูนย์การออกกำลังกาย การใช้ห้องเรียนจากพื้นที่ป่า การเข้าไปสัมผัสกับธรรมชาติภายในป่าด้วยการสร้างประเพณีการบวชป่า ประเพณีการสร้างพระพุทธรูปไว้ประจำในป่าแล้วส่งพระสงฆ์ไปจำพรรษาในป่าเป็นต้น

          ๒. การด้านการวิเคราะห์การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาทางพุทธศาสนาด้านป่าไม้ของแต่ละภาค
มีความคิดในการใช้ภูมิปัญญาทางพุทธศาสนาที่ต่างกันในหลักธรรมและแนวความคิด ทางภูมิปัญญาจึงแตกต่างกันแบ่งออกเป็น ๓ รูปแบบ

แบบที่ ๑ หลักธรรมด้านศีล ๕ และไตรสิขา

แบบที่ ๒ หลักธรรมด้านศีล ๕ ด้านอริยะสัจ ๔ และหลักเมตตา อุเบกขา

แบบที่ ๓ ใช้หลักธรรมความเพียร ขันติ วิริยะ อุสาหะ ศีล สมาธิ ปัญญา เมตตา และหิริโอตตัปปะ

ซึ่งแต่ละแบบของแต่ละภาคนั้นได้ ประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาทางพุทธศาสนา ในปัจจุบันและยังใช้ได้ดีอยู่ในขณะนี้ จึงถือได้ว่าเป็นรูปแบบที่เหมาะสมตามลักษณะของภูมิภาค ชุมชน และผืนป่านั้นๆ

ตามวัตถุประสงค์สุดท้ายที่จะนำเสนอแนวทางในการจัดการสิ่งแวดล้อมด้านป่าไม้ โดย
ภูมิปัญญาทางพุทธศาสนาเพื่อเป็นสากลที่สามารถนำมาปรับใช้ได้กับทั้ง ๓ ภาค โดยใช้หลักธรรม อริยะสัจ ๔ ศีล ๕เมตตา และ หิริโอตตัปปะ เพราะหลักธรรมแต่ละหลักธรรมกล่าวถึงความเป็นจริงในมนุษย์ ของการเป็นอยู่ในปัจจุบันที่ประกอบไปด้วย อริยะสัจ ๔ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ศีล ๕ คือการละเว้นในสิ่งที่ทำความเดือดร้อนให้กับตนเอง และผู้อื่นของศีลทั้ง ๕ ข้อ และการอยู่ร่วมกันในสังคมตั้งแต่ครอบครัวจนถึง ชุมชน ต้องมีความเมตตาเอื้อเฟื้อเผือแผ่ต่อกันและสุดท้าย ต้องมีความละอายและเกรงกลัวต่อความประพฤติที่ผิดทำนองคลองธรรม และการเบียดเบียนกัน การเอารัดเอาเปรียบกัน ซึ่งต้องใช้ ภูมิปัญญาจากหลักธรรมที่ต้องใช้ปัญญาเพื่อให้รู้แจ้งต่อไป

 

 Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕