หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระฐาปกรณ์ รตนโชโต(สุปัญญารัตน์)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๑ ครั้ง
รูปแบบการผลิตและการจัดการการเกษตรแบบพอเพียงกับการสร้างดุลยภาพชีวิตของเกษตรกรในจังหวัดบุรีรัมย์ (สาขาวิชาการพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : พระฐาปกรณ์ รตนโชโต(สุปัญญารัตน์) ข้อมูลวันที่ : ๐๔/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  วิวัฒน์ หามนตรี
  เดชา กัปโก
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๒ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑)  ศึกษาสภาพการผลิตและการจัดการการเกษตรแบบพอเพียงของเกษตรกร ในเขตจังหวัดบุรีรัมย์  ๒)  วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการผลิตและการจัดการการเกษตรแบบพอเพียงกับดุลยภาพชีวิตของเกษตรกรในเขตจังหวัดบุรีรัมย์  ๓)  เสนอรูปแบบการผลิตและการจัดการการเกษตรแบบพอเพียงกับดุลยภาพชีวิตของเกษตรกรในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ  เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง  จำนวน  ๔๐๐  คน  ผู้ให้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์  จำนวน  ๓๐  คน  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอรรถาธิบายและพรรณนาความ

    ผลการวิจัยพบว่า 

             ๑.  สภาพการผลิตและการจัดการการเกษตรแบบพอเพียงของเกษตรกรในเขตจังหวัดบุรีรัมย์  

สอดคล้องกับสภาพการผลิตของเกษตรกรที่ทำการเกษตรเชิงเดี่ยว โดยมุ่งถึงการใช้การผลิตอาหารในท้องถิ่น สร้างความพอเพียงให้ครอบครัวเกษตรกรรายย่อย ตามหลักธรรมคุณธรรม และตามหลักความปลอดภัย โดยยึดหลักการทำการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยเป็นการนำเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้อย่างเป็นรูปธรรมในการประกอบการเกษตรเพื่อความมั่นคงและยั่งยืน

             ๒. ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการผลิตและการจัดการการเกษตรแบบพอเพียงกับดุลยภาพชีวิตของเกษตรกรในเขตจังหวัดบุรีรัมย์  ประกอบไปด้วย  ด้านสุขภาพ   เกษตรกรที่จัดการแบบเศรษฐกิจพอเพียงมีสุขภาพกายที่ดีลดการใช้สารเคมีรวมถึงลดภาระการใช้แรงงานที่เกินตัวช่วยให้ร่างกายมีความสมดุลต่อการดำรงชีวิต  ด้านรายได้และการเงิน  การผลิตเกษตรแบบพอเพียงเป็นรายได้ที่ไม่มากพอแต่มีรายได้เข้าครอบครัวอย่างต่อเนื่อง  ด้านสถานภาพของครอบครัว เกษตรกรมีความมั่นคงตามวิถีชีวิตดั้งเดิม มีความมั่นคงในอาชีพทางการเกษตร และด้านครอบครัว   เกษตรกรจะอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวใหญ่และใช้แรงงานภายในครอบครัวเป็นแรงงานหลักในการประกอบอาชีพทางการเกษตร

๓. รูปแบบการจัดการการเกษตรแบบพอเพียงกับดุลยภาพชีวิตของเกษตรกรในเขตจังหวัดบุรีรัมย์  ประกอบด้วย  รูปแบบที่ ๑  รูปแบบการเกษตรแบบพึ่งพาตนเอง การพึ่งตนเองของเกษตรกร เป็นการพึ่งตนเองผ่านการทำเกษตรในรูปแบบเกษตรกรรมขับเคลื่อนในการดำเนินกิจกรรมจนทำให้เกษตรสามารถพึ่งตนเองได้ เน้นการบริโภคภายในชุมชนเป็นหลัก  รูปแบบที่ ๒ รูปแบบการเกษตรตามทฤษฎีใหม่  มีชีวิตความเป็นอยู่ที่มั่นคง พออยู่ พอกิน มีเก็บ มีจำหน่าย ส่งผลต่อความยั่งยืนในอาชีพเกษตรกร

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕