หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » สุวิมล เทวะศิลชัยกุล
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๒ ครั้ง
สังคมดิจิทัลสีเขียว: องค์ประกอบ รูปแบบ และการเสริมสร้างเครือข่าย ของชุมชน ในจังหวัดภาคเหนือ (สาขาวิชาการพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : สุวิมล เทวะศิลชัยกุล ข้อมูลวันที่ : ๐๔/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุธีรัตนบัณฑิต
  โกนิฏฐ์ ศรีทอง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง สังคมดิจิทัลสีเขียว: องค์ประกอบ รูปแบบและการเสริมสร้างเครือข่ายของชุมชนในจังหวัดภาคเหนือมีวัตถุประสงค์ข้อ ๑ เพื่อศึกษาองค์ประกอบของสังคมดิจิทัลสีเขียวของชุมชนในจังหวัดภาคเหนือ ข้อ ๒ เพื่อศึกษากระบวนการเสริมสร้างเครือข่ายสังคมดิจิทัลสีเขียวของชุมชนในจังหวัดภาคเหนือ และ ข้อ ๓ เพื่อสร้างรูปแบบของสังคมดิจิทัลสีเขียวของชุมชนในจังหวัดภาคเหนือ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญรวม ๓๗ คน และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

              ผลการวิจัยพบว่า

              ๑. สังคมดิจิทัลสีเขียวมีองค์ประกอบดังนี้ (๑) การเรียนรู้เป็นกิจกรรมดิจิทัลสีเขียวที่มีอยู่ในแต่ละพื้นที่ที่ศึกษาจากแหล่งต่างๆ ทั้งในระบบออนไลน์และระบบออฟไลน์ เป็นความรู้จากภูมิปัญญาในท้องถิ่น และจากหน่วยราชการส่วนกลางเป็นต้น (๒) นวัตกรรมเป็นกิจกรรมที่ชุมชนได้ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาเพื่อนำมาสร้างความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (๓) การพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นกิจกรรมที่มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า การลดต้ทุนทางด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม และการสร้างสำนึกรักธรรมชาติ และ (๔) การเปลี่ยนแปลงเป็นผลจากองค์ประกอบทั้งสามข้างต้นและธำรงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ดีงาม และการสร้างระบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรมจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

              ๒. การเสริมสร้างเครือข่ายของสังคมดิจิทัลสีเขียวมีกระบวนการ ดังนี้ (๑)  การก่อตัวของเครือข่ายของชุมชนในพื้นที่แห่งหนึ่งไปยังพื้นที่แห่งอื่นๆ โดยมีพันธกิจร่วมกัน (๒) การบริหารเครือข่ายเพื่อให้พันธกิจร่วมของเครือข่ายบรรลุผล (๓) การพัฒนาความสัมพันธ์เพื่อเป็นการบริหารเครือข่ายและปฏิบัติภารกิจร่วมกันจะพัฒนาความสัมพันธ์ของสมาชิกในเครือข่ายให้มั่นคงมากขึ้น และ (๔) การรักษาความต่อเนื่อง โดยอาศัยเครือข่ายที่มีอยู่เดิมไปปฏิบัติพันธกิจอื่นๆ ต่อไป นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการเสริมสร้างเครือข่ายจริงมายังเครือข่ายออนไลน์ซึ่งมีประสิทธิภาพและทันต่อเหตุการณ์

          ๓. รูปแบบของสังคมดิจิทัลสีเขียวที่เป็นความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของสังคมดิจิทัลสีเขียวที่เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นสังคมดิจิทัลสีเขียว โดยมีกระบวนเสริมสร้างเครือข่ายเป็นวิธีการขับเคลื่อนปัจจัยองค์ประกอบเหล่านั้นและมีสื่อดิจิทัลแสดงบทบาทที่สำคัญ

 

 Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕