หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระคำหวัน ทัดสะพอน
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๑ ครั้ง
การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของคณะสงฆ์ เมืองหลวงพระบาง สปป. ลาว (สาขาวิชาการพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : พระคำหวัน ทัดสะพอน ข้อมูลวันที่ : ๐๔/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  อุบลวรรณา ภวกานันท์
  พระสุธีรัตนบัณฑิต
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๒ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษากระบวนการการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของคณะสงฆ์เมืองหลวงพระบาง สปป ลาว ๒) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรค ผลลัพธ์ การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของคณะสงฆ์เมืองหลวงพระบาง สปป ลาว ๓) เพื่อศึกษาแนวทางในการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของคณะสงฆ์เมืองหลวงพระบาง สปป ลาว เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน การดำเนินการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ได้ทำการเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) ๑๗ รูป/ท่าน จากบุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับคณะสงฆ์เมืองหลวงพระบาง โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการพรรณนาความ

ผลการวิจัยพบว่า

๑) กระบวนการการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของคณะสงฆ์เมืองหลวงพระบาง สปป ลาว ได้แก่  ๑) ด้านพระธรรมคณะสงฆ์เมืองหลวงพระบางมีการเรียนการสอนพระธรรมไปตามระบบของศูนย์กลางที่วางไว้ คณะสงฆ์เมืองหลวงพระบาง สปป ลาว ยังขาดบุคลากรที่จะมาสอนให้พระสงฆ์สามเณร ๒) ด้านสามัญ คณะสงฆ์เมืองหลวงพระบางมีการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงมัธยมศึกษาเท่านั้น ๓) ด้านการพัฒนาสังคม คณะสงฆ์ให้การช่วยเหลือด้านอุปกรณ์ การเรียนการสอนให้แก่โรงเรียนที่อยู่ห่างไกลจากตัวเมือง ๔) ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและภูมิปัญญา คณะสงฆ์ได้มีการฝึกอบรมให้แก่เยาวชนและพุทธศาสนิกชนรู้จักศีล ๕ รู้จักทำบุญ ๕) ด้านการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมการเป็นเมืองมรดกโลกของเมืองหลวงพระบาง คณะสงฆ์และชาวเมืองหลวงพระบางมีการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม เช่น การตักบาตรข้าวเหนียว ถือเป็นจุดเด่นของเมืองหลวงพระบาง

๒) ปัญหาและอุปสรรค ผลลัพธ์ การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของคณะสงฆ์เมืองหลวงพระบาง สปป ลาว ได้แก่ ๑) เรื่องความเท่าเทียมทางการศึกษา การศึกษาของประเทศลาว ยังขาดการพัฒนาครู ขาดอุปกรณ์ในการเรียนการสอนอีกมาก ๒) เรื่องการแก้ไขความยากจน โดยให้ชาวบ้านนำลูกหลานมาบวชเพื่อที่จะลดภาระให้กับครอบครัวที่ยากจน และอบรมแนวคิดจิตใจแก่ชาวพุทธให้เป็นคนขยันหมั่นเพียรซื่อสัตย์สุจริต ๓) การจัดการสิ่งแวดล้อม ให้ความรู้แก่ประชาชนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยการไม่ตัดไม้ทำลายป่า ๔) การจัดการวิถีวัฒนธรรม ชาวเมืองหลวงพระบางส่วนใหญ่ยังนับถือประเภณีและวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมแต่บางส่วนอาจจะมีการเปลียนแปลงบ้างแต่ก็ไม่มากนัก

๓) แนวทางในการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของคณะสงฆ์เมืองหลวงพระบาง สปป ลาว ได้แก่ ๑) ด้านการจัดการศึกษา คณะสงฆ์เมืองหลวงพระบางได้ส่งลูกศิษย์มาเรียนที่ต่างประเทศ เพื่อนำความรู้ที่ได้เรียนไปบริหารคณะสงฆ์ให้เข้ากับยุคสมัยใหม่ ๒)แนวทางแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมทางการศึกษา คณะสงฆ์เมืองหลวงพระบางมีแนวทางแก้ไขความไม่เท่าเทียมทางศึกษาเพื่อไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยื่น โดยการประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านนำลูกหลานมาบวช ๓) มีการศึกษาอบรมแนวคิดจิตใจแก่ญาติโยมให้เป็นคนมันขยันเพียรซื่อสัตย์สุจริตและรู้จักประหยัดในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันรู้ทำมาหากินถูกต้องตามระเบียบกฎหมาย ๔) แนวทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม รัฐและคณะสงฆ์ได้จัดอบรมแก่ประชาชนให้รู้จักรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยการส่งเสริมให้ปลูกต้นไม้ ๕) แนวทางแก้ไขปัญหาวิถีวัฒนธรรม จัดโครงการอบรมศีลธรรมสวดมนต์ข้ามปีหรือเทศนาให้พวกเขาหันมานับถือพระพุทธศาสนา

  Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕