หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาอนุพันธ์ อานนฺทเมธี/พรมชาลี
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๕ ครั้ง
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมตามหลักศีล ๕ ของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๕ (สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาอนุพันธ์ อานนฺทเมธี/พรมชาลี ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๐๔/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สมควร นามสีฐาน
  วิทยา ทองดี
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์  ๑) เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ตามหลักศีล ๕ ของครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๕    ๒) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ตามหลักศีล ๕ ของครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๕ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ  ประชากร ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน  ๒,๘๗๐คน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๑๘๓ คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Yamane  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแผนการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage)  ค่าเฉลี่ย (Mean = ) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation = S.D.)

ผลการวิจัยพบว่า

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมตามหลักศีล ๕ ของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๕ ครูผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด จำนวน ๑๘๓ คน ส่วนใหญ่มีอายุ มากกว่า ๔๐ ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ ๔๐.๖๘  วุฒิการศึกษา ส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน ๑๔๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๓.๐๕ และประสบการณ์ในการสอน  ส่วนใหญ่มีประสบการณ์มากกว่า ๑๕ ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ ๔๑.๒๔

 

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการจัดเรียน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับปานกลางทั้ง ๒ ด้าน ได้แก่ ด้านสภาพการใช้ ด้านปัญหาในการจัดการเรียนการสอน  การการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมตามหลักศีล ๕ ของครูผู้สอน ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน  เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้หลังใช้ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมตามหลักศีล ๕  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้เรียนสูงขึ้น โดยมีคะแนนเฉลี่ย ( ) ก่อนการใช้ชุดการเรียนรู้เท่ากับ ๑๘  หลังการใช้เท่ากับ  ๓๓  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่คาดไว้ระดับ ๐.๐๕  และค่าเฉลี่ยหลังการใช้ชุดการเรียนรู้เท่ากับ ๘๓.๑๑  สูงกว่าเกณฑ์ที่คาดไว้คือ ร้อยละ ๘๐ ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานของการวิจัย

แนวทางในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม  ตามหลักศีล ๕ ควรมีการจัดหาวิทยากรที่มีความรู้เกี่ยวกับหลักศีล ๕  มีการจัดกิจกรรมอบรมบูรณาการใช้หลักศีล๕  ให้กับครูผู้สอน  เพื่อส่งเสริมเพิ่มทักษะพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม   และผู้บริหารควรส่งเสริมการนำหลักศีล ๕ บูรณาการเข้ากับการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนให้ทันสมัยอยู่เสมอ

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕