หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูสิทธิวชิรโสภิต (ประสิทธิ์ สมฺมาปญฺโญ)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๙ ครั้ง
การพัฒนาการอนุรักษ์พุทธสถานของพระสังฆาธิการในจังหวัดกำแพงเพชร (สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูสิทธิวชิรโสภิต (ประสิทธิ์ สมฺมาปญฺโญ) ข้อมูลวันที่ : ๑๙/๐๔/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสุนันท์ สุนนฺโท
  สุรพล สุยะพรหม
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (๑) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพทั่วไปการพัฒนาการอนุรักษ์พุทธสถานในจังหวัดกำแพงเพชร (๒) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการอนุรักษ์พุทธสถานในจังหวัดกำแพงเพชร (๓) เพื่อนำเสนอการอนุรักษ์พุทธสถานของพระสังฆาธิการในจังหวัดกำแพงเพชร การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการวิจัยเชิงเอกสาร  กับการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๒๕ รูป/คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน ๑๒ รูป/คน การวิจัยเชิงปริมาณ ที่ใช้การศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ  จากแบบสอบถาม  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้ทำการสุ่มมาจากพระสังฆาธิการและคณะกรรมการวัดในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๓๘๒­ รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            

              ผลการวิจัยพบว่า

             ๑. สภาพทั่วไป

             การพัฒนาการอนุรักษ์พุทธสถานของพระสังฆาธิการในในจังหวัดกำแพงเพชรพบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ๑) ด้านการดูแลรักษา มีการดำเนินการรักษาทำความสะอาดโดยรอบโบราณสถานภายในวัดเป็นประจำ ตรวจสอบความเสียหายและความเสื่อมโทรมของโบราณสถานในวัดอย่างต่อเนื่อง ๒) ด้านการปกป้องคุ้มครอง มีการป้องกัน  สำรวจไม่ให้มีสิ่งบดบังทัศนียภาพของโบราณสถาน และ มีการป้องกันไม่ให้มีการบุกรุกทำลายหรือขุดหาโบราณวัตถุในเขตโบราณสถาน ๓) ด้านการเสริมความมั่นคง พิจารณาถึงคุณค่าโบราณสถานไม่ให้เสื่อมลง ซ่อมแซมโบราณสถานส่วนที่ชำรุด ให้เลือกวัสดุที่เหมาะสมและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และ ๔) ด้านการใช้ประโยชน์ มีการเปิดเป็นสถานที่เพื่อบริการค้นคว้าวิจัยวัดที่มีโบราณสถาน วัดมีหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนในเชิงวิชาการทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีและการอนุรักษ์เบื้องต้นของโบราณสถานนั้น รวมถึงมีการจัดการเผยแพร่เอกสารประชาสัมพันธ์การส่งเสริมการอนุรักษ์โบราณสถานแก่พระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนและการใช้ประโยชน์โบราณสถานต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะมีต่อโบราณสถาน มีการกำหนดพื้นที่ใช้ประโยชน์ให้ชัดเจน และไม่เปลี่ยนแปลงรูปแบบของโบราณสถาน

             ๒. องค์ประกอบการพัฒนาบทบาทของพระสังฆาธิการในการอนุรักษ์พุทธสถาน         ในจังหวัดกำแพงเพชร พบว่าพบว่า ๑) ด้านการดูแลรักษา มีการดำเนินการรักษาทำความสะอาดโดยรอบพุทธสถานภายในวัดเป็นประจำ ตรวจสอบความเสียหายและความเสื่อมโทรมของพุทธสถานในวัดอย่างต่อเนื่อง ๒) ด้านการปกป้องคุ้มครอง มีการป้องกัน  สำรวจไม่ให้มีสิ่งบดบังทัศนียภาพของพุทธสถาน และ มีการป้องกันไม่ให้มีการบุกรุกทำลายหรือขุดหาโบราณวัตถุและในเขตพุทธสถาน ๓) ด้านการเสริมความมั่นคง พิจารณาถึงคุณค่าพุทธสถานไม่ให้เสื่อมลง ซ่อมแซมพุทธสถานส่วนที่ชำรุด ให้เลือกวัสดุที่เหมาะสมและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และ ๔) ด้านการใช้ประโยชน์ มีการเปิดเป็นสถานที่เพื่อบริการค้นคว้าวิจัยวัดที่มีพุทธสถาน วัดมีหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนในเชิงวิชาการทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีและการอนุรักษ์เบื้องต้นของพุทธสถานนั้น รวมถึงมีการจัดการเผยแพร่เอกสารประชาสัมพันธ์การส่งเสริมการอนุรักษ์พุทธสถานแก่พระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนและการใช้ประโยชน์พุทธสถานต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะมีต่อพุทธสถาน มีการกำหนดพื้นที่ใช้ประโยชน์ให้ชัดเจน และไม่เปลี่ยนแปลงบทบาทของพุทธสถาน ในการอนุรักษ์โบราณสถาน กรมศิลปากรเป็นหน่วยงานในการกำหนดกรอบและวิธีการ หรือแนวทางในการดำเนินการอนุรักษ์โบราณสถานอย่างชัดเจน เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการดำเนินการของทุกฝ่ายซึ่งต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติของกรมศิลปากรในการอนุรักษ์โบราณสถานของวัดได้มีการสำรวจโบราณสถานอย่างเป็นระบบ มีการบันทึกที่มา รูปพรรณสัณฐาน เพื่อให้การสำรวจโบราณสถานเป็นไปอย่างมีมาตรฐานเดียวกัน

             ๓. แนวทางของพระสังฆาธิการในการอนุรักษ์พุทธสถาน ในจังหวัดกำแพงเพชร พบว่า ๑) ด้านการอนุรักษ์ รูปแบบอนุรักษ์ควรทำความเข้าใจให้ชัดเจนในด้านความคิด หลักการที่ถูกต้องเกี่ยวกับการสงวนรักษา การบูรณะและการนำเสนอมรดกทางวัฒนธรรม ๒) ด้านการฟื้นฟู ควรมีการวางแผนงานเป็นขั้นตอนโดยนักวิชาการและสร้างกิจกรรมการเรียนรู้และการเป็นเครือข่ายเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ภูมิปัญญา และ ๓) ด้านการพัฒนา ควรส่งเสริมสินค้าหัตถกรรมซึ่งก่อให้เกิดรายได้ต่อชุมชน ดำเนินการอนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม และการพัฒนาองค์ความรู้แก่ชุมชนและเยาวชน

 

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕