หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาสราวุธ สราวุโธ (แสงสี)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๓ ครั้ง
การพัฒนาศักยภาพพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๕ (สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาสราวุธ สราวุโธ (แสงสี) ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๐๔/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสุนันท์ สุนนฺโท
  สุรพล สุยะพรหม
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์คือ ๑. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๕ ๒.เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับศักยภาพพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๕ และ ๓.เพื่อนำเสนอการพัฒนาศักยภาพพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๕

               การวิจัยเป็นผสานวิธี โดยใช้ระเบียบการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ที่เป็นผู้บริหารโครงการพระสอนศีลธรรม และผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน ๑๘ รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้เชี่ยวชาญจำนวน๑๒รูปหรือคน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาเรียบเรียงและจำแนกอย่างเป็นระบบ และใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการแจกแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๘๘  กับพระสอนศีลธรรมในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๕ จำนวน ๒๕๓ รูป สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า

๑. สภาพทั่วไปในการพัฒนาศักยภาพพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๕ พบว่ามีการประชุมวางแผนเพื่อกำหนดนโยบาย และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการที่ชัดเจน มีการนำนโยบายที่ได้มาสู่การปฏิบัติ ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นประจำ มีการสนับสนุนให้พระสอนศีลธรรมมีความรับผิดชอบในการถ่ายทอดหลักพุทธธรรม ส่งเสริมงบประมาณในการจัดกิจกรรม มีการประเมินผลทั้งการเรียนการสอนและกิจกรรมวิถีพุทธทั้งครูและนักเรียน มีการสนับสนุนงบประมาณเพื่อปรับปรุงกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและเอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน

 

๒. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาศักยภาพพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๕  นั้น พบว่า ปัจจัยด้านประเภทของศักยภาพในการทำงานกับการพัฒนาศักยภาพพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมีความสัมพันธ์กัน และมีความสัมพันธ์กันในระดับมาก (r = ๐.๙๔๐, p-value= ๐.๐๐๐) และ ปัจจัยด้านภาวนา ๔ กับการพัฒนาศักยภาพพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมีความสัมพันธ์กัน และมีความสัมพันธ์กันในระดับมาก
(
r = ๐.๙๔๑, p-value= ๐.๐๐๐)

 

๓. การพัฒนาศักยภาพพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๕  มี ๕ ขั้นตอน คือ ๑) การพัฒนาศักยภาพพระสอนศีลธรรม ในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๕ ด้านเนื้อหาการสอนได้แก่  การจัดทำปฏิทินปฏิบัติงาน ในรอบปีการศึกษา การพัฒนาผู้สอนให้ใช้วิธีการที่เหมาะสมกับผู้เรียน จะทำให้การเรียนของผู้เรียน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ๒) การพัฒนาศักยภาพพระสอนศีลธรรม ในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๕ ด้านวิธีการสอนได้แก่ การกำหนดห้องเรียน ชั้นเรียน ห้องสมุด ห้องประชุม ห้องน้ำ หนังสือเรียน ตำราเรียน สมุด ดินสอ ปากกา กระดาษ กระดานเขียน โต๊ะ ตู้ เก้าอี้ โปรเจคเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ สื่อการสอน ไฟฟ้า นำประปา เป็นต้น ๓) การพัฒนาศักยภาพพระสอนศีลธรรม ในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๕ ด้านการใช้สื่อการสอน ได้แก่ การนำหลักธรรมเข้ามาประยุกต์กับการสอน จัดการเรียนรู้โดยมี สื่อ วีซีดี คอมพิวเตอร์ช่วยในการสอน จัดการเรียนรู้โดยนำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันประยุกต์ใช้ในการสอน๔)การพัฒนาศักยภาพพระสอนศีลธรรม ในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๕ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ได้แก่ การพัฒนากิจกรรมในการจัดการการเรียนการสอนขั้นปฏิบัติ เป็นกิจกรรมหลักของการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ๕) การพัฒนาศักยภาพพระสอนศีลธรรม ในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๕ ด้านการวัดผลและประเมินผลได้แก่ การเชิญวิทยากรหรือผู้เชี่ยวชาญมาให้คำแนะนำในด้านทักษะเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้พระสอนศีลธรรมในด้านการวัดผลและประเมินผลจากแฟ้มงานสะสม

 

Download

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕