หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูกิตติโชติคุณ กิตฺติปาโล (ปะละกัง)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๗ ครั้ง
พุทธจริยศาสตร์กับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของชุมชน ในอำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น
ชื่อผู้วิจัย : พระครูกิตติโชติคุณ กิตฺติปาโล (ปะละกัง) ข้อมูลวันที่ : ๑๒/๐๔/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  จรัส ลีกา
  สุวิน ทองปั้น
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาพุทธจริยศาสตร์สำหรับใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ๒) เพื่อศึกษาสภาพปัญหายาเสพติดของชุมชนในอำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น ๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์กับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของชุมชนในอำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น การวิจัยดังกล่าวนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร ซึ่งผู้วิจัยจะได้วิเคราะห์ข้อมูลแบบวิเคราะห์เชิงพรรณาวิธี (Descriptive Ananlysis) ตามหลักการของอุปนัยวิธี (Inductive Method) โดยยึดวัตถุประสงค์การวิจัยเป็นแนว

 

 

ผลการวิจัยพบว่า

 

๑) พุทธจริยศาสตร์สำหรับใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของชุมชนในจังหวัดขอนแก่น ผลจากการสนทนากลุ่มทั้ง ๔ ชุมชน พบว่าหลักพุทธจริยศาสตร์สำหรับใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของชุมชนของตน ประกอบด้วยหลักธรรม ๔ ประการคือ ๑) หลักอบายมุข, ๒) หลักปธาน ๔, ๓) หลักวัฒนมุข ๖ และ ๔) หลักพรหมวิหาร ๔

 

 

 

๒. สภาพปัญหายาเสพติดของชุมชนในอำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น มีสาเหตุมาจาก ๔ ประการคือ ๑) เกิดจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ๒) สาเหตุจากการถูกหลอกลวง ๓) สาเหตุที่เกิดจากความเจ็บป่วย ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ๔) สิ่งแวดล้อม เช่นการคบเพื่อนไม่ดี อาศัยอยู่ใกล้แหล่งชุมชนที่ค้ายาเสพติดหรือมีผู้เสพเป็นจำนวนมาก และส่งผลกระทบต่อตัวบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคมในระดับประเทศ

 

๓) การวิเคราะห์หลักพุทธจริยศาสตร์กับการป้องกันและการแก้ไขปัญหายาเสพติดของชุมชนในอำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น โดยนำหลักธรรมต่างๆมาประยุกต์เข้าในกิจกรรมดังนี้ หลักอบายมุข โดยจัดกิจกรรมที่เป็นการส่งเสริมให้คนในชุมชนเห็นโทษภัยของอบายมุขทั้งหลายเช่น กิจกรรมเข้าค่ายเรียนรู้โทษของยาเสพติด หลักปธาน ๔ เช่น กิจกรรมรณรงค์ป้องกันยาเสพติดโดยการจัดอบรมหรือเข้าค่าย วัฒนมุข ๖ เช่น กิจกรรมเข้าวัดทุกวันพระหรือเทศกาล ส่งเสริมให้คนในเข้าวัดเพื่อรักษาศีล และพรหมวิหารธรรม ๔ กิจกรรม เช่น ค่ายเลิกบุหรี่สุรา ชีวิตสดใส เป็นต้น

 Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕