หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระพรชาติ พุทฺธสโร (ภาคพรม)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๗ ครั้ง
การศึกษาหลักสัปปายะที่เกื้อกูลต่อการปฏิบัติธรรมของสำนักปฏิบัติธรรมในเขตจังหวัดสุรินทร์
ชื่อผู้วิจัย : พระพรชาติ พุทฺธสโร (ภาคพรม) ข้อมูลวันที่ : ๑๑/๐๔/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสมพาน ชาคโร
  พระอธิการเวียง กิตฺติวณฺโณ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๔ กันยายน ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาหลักสัปปายะในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาสำนักปฏิบัติธรรมในเขตจังหวัดสุรินทร์ ๓) เพื่อวิเคราะห์หลักสัปปายะที่เกื้อกูลต่อการปฏิบัติธรรมของสำนักปฏิบัติธรรมในเขตจังหวัดสุรินทร์ผลการศึกษาพบว่า

สัปปายะ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาศาสนาเถรวาทหมายถึง สิ่งที่สบาย สภาพที่เอื้อ สิ่งที่เกื้อกูล สิ่งที่เหมาะสมอันเกื้อกูลต่อการเจริญภาวนาให้ได้ผลดี ช่วยให้สมาธิตั้งมั่นไม่เสื่อมถอย มี ๗ อย่าง คือ อาวาสสัปปายะ โคจรสัปปายะ ภัสสสัปปายะ ปุคคลสัปปายะ โภชนสัปปายะ อุตุสัปปายะ และอิริยาปถสัปปายะ  สัปปายะทั้ง ๗ อย่างนี้มีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกันเป็นเหตุปัจจัยให้ผู้ปฏิบัติธรรมเข้าถึงจุดหมายสูงสุดคือพระนิพพาน

           สำนักปฏิบัติธรรมทั้ง ๕ สำนัก คือ ๑) สำนักปฏิบัติธรรมวัดป่าโยธาประสิทธิ์ (ธ) ๒) สำนักปฏิบัติธรรมวัดป่าบ้านตรวจ ๓) สำนักปฏิบัติธรรมวัดป่าเทพประทาน ๔) สำนักปฏิบัติธรรมวัดสุทธิวงศา และ ๕) สำนักปฏิบัติธรรมวัดโพธิ์ศรีวรรณารามพบว่ามีประวัติความเป็นมาที่แตกต่างกัน
บางแห่งก็อยู่ตั้งอยู่ติดกับชุมชน บางแห่งก็แยกตัวออกมาจากชุมชน และได้มีพัฒนาการมาตามลำดับ สภาพปัจจุบันมีการปรับภูมิทัศน์บริบทของ
สำนักมีเสนาสนะและอาคารสิ่งปลูกสร้างเพิ่มมากขึ้น
โดย
แบ่งพื้นที่ออกเป็นสัดส่วนเป็นเขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาส เขตอุบาสก อุบาสิกา เขตฌาปนสถานหลักสัปปายะบางอย่างจึงแตกต่างจากหลักสัปปายะในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ไม่สอดคล้องกันทั้งหมดสำนักปฏิบัติธรรมจะเน้นหลักสัปปายะให้มีคุณสมบัติที่สอดคล้องเข้ากับหลักเกณฑ์ระเบียบของมหาเถรสมาคม สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ เพื่อให้ได้รับการคัดเลือกจัดตั้งวัดเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

สำนักปฏิบัติธรรมมีป่าไม้เป็นตัวประกอบหลักที่ทำให้สำนักมีความร่มรื่นเจ้าสำนักและวิทยากรมีความรู้ทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติ สามารถแนะนำในการปฏิบัติธรรมได้ดี มีรูปแบบการปฏิบัติที่ชัดเจน มีการนำสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ประกอบการอบรมปฏิบัติธรรมตามความเหมาะสมต่อบุคคลและสถานที่ โดยพบว่าหลักสัปปายะที่เกื้อกูลต่อการปฏิบัติธรรมที่มีความสำคัญมากที่สุดตามลำดับ คือ ภัสสสัปปายะ (ธรรมะสัปปายะ)ปุคคลสัปปายะ โภชนสัปปายะ อาวาสสัปปายะ โคจรสัปปายะ อุตุสัปปายะ และอิริยาปถสัปปายะเมื่อผู้ปฏิบัติธรรมมีความศรัทธามีจิตยินดีในธรรมะมีศรัทธาต่อบุคคลผู้สอนธรรมหรือผู้นำพาปฏิบัติธรรม มีอาหารที่สมบูรณ์ส่วนในด้านอาวาสหรือเสนาสนะทางโคจรเดินทางไปมา สภาพดินฟ้าอากาศและอิริยาบถนั้นเป็นเรื่องรองลงไปตามความเหมาะสมและความสะดวกของผู้ปฏิบัติธรรมเมื่อผู้ปฏิบัติธรรมได้อยู่ในสถานที่ที่เหมาะสมสอดคล้องตามหลักสัปปายะก็จะทำให้มีความสะดวกสามารถที่จะพัฒนากายและใจให้มีความเจริญก้าวหน้าตามสมควรแก่การปฏิบัติ สำนักปฏิบัติธรรมจึงมีประโยชน์ต่อพุทธศาสนิกชนเป็นอย่างมาก มีความสำคัญต่อคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์เป็นการสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาให้คงอยู่คู่กับชุมชนและสังคมต่อไป

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕