หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาสมศักดิ์ คมฺภีรปญฺโญ (ตัวไธสง)
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๐ ครั้ง
ศึกษาหลักธรรมที่ปรากฏในพิธีกรรมแกลมอของหมู่บ้านแสนสุข ตำบลห้วยแถลง อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาสมศักดิ์ คมฺภีรปญฺโญ (ตัวไธสง) ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๐๓/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระปลัดกิตติ ยุตฺติธโร
  ภัฏชวัชร์ สุขเสน
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เรื่อง

ศึกษาหลักธรรมที่ปรากฏในพิธีกรรมแกลมอของหมู่บ้านแสนสุขตำบลห้วยแถลง อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา” มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาพิธีกรรมแกลมอของหมู่บ้านแสนสุขตำบลห้วยแถลง อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา ๒)เพื่อศึกษาหลักธรรม         ที่ปรากฏในพิธีกรรมแกลมอของหมู่บ้านแสนสุข ตำบลห้วยแถลง อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา ๓) วิเคราะห์หลักธรรมที่ปรากฎในพิธีกรรมแกลมอของหมู่บ้านแสนสุข ตำบลห้วยแถลง อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และเป็นการศึกษาวิจัยภาคสนามแล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา

ผลการศึกษาพบว่า

พิธีกรรมแกลมอของหมู่บ้านแสนสุขตำบลห้วยแถลง อำเภอห้วยแถลง                 จังหวัดนครราชสีมานั้น เกิดจากความเชื่อที่ว่าเมื่อเกิดการเจ็บไข่ได้ป่วยที่ไม่อาจหาสาเหตุพบ ชาวกูย   ก็จะให้ผู้ที่เคารพนับถือที่เรียกว่าอาจารย์เป็นคนลำส่อง (คับแหม ) เพื่อหาสาเหตุ โดยเริ่มแก็ลมอ     ในตอนกลางวัน ส่วนตั้งแต่หัวค่ำจะแก็ลออ จนกว่าจะเสร็จพิธีบางครั้งถึงสว่างก็มี เครื่องเสวยที่ทำให้พิธีครื้นแครงก็คือ เหล้า ที่ขาดไม่ได้เลยและมีเครื่องดนตรีคือ แคน ปัจจุบันพิธีแก็ลมอและแก็ลออก็ยังมีให้พบเห็นโดยทั่วไปของสังคมชาวกูย เพราะขั้นตอนการแล่นแฝงไว้ซึ่งคุณค่าต่าง ๆ มากมาย

 

หลักธรรมที่ปรากฏในพิธีกรรมแกลมอของหมู่บ้านแสนสุข ตำบลห้วยแถลง            อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา คือ ๑) ความเชื่อในเรื่องของกรรม ๒) ความเชื่อเรื่องสังสารวัฏ ๓) ความเชื่อเรื่องสรณะ ๔) ความเชื่อเรื่องพิธีกรรมการเข้าทรง ๕) หลักศรัทธา ๖) ความกตัญญู     ๗) บุญกิริยาวัตถุ ๓ ๘) บูชา ๒ ๙) ไตรลักษณ์

             วิเคราะห์หลักธรรมที่ปรากฏในพิธีกรรมแกลมอของหมู่บ้านแสนสุข ตำบลห้วยแถลง อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา เริ่มจากกระบวนการขั้นตอนการเข้าทรงที่เกี่ยวกับคำสอนทางพระพุทธศาสนา กระบวนการที่เป็นขั้นตอนตั้งแต่เริ่มพิธี เนื่องจากผู้นำการประกอบพิธีกรรมนั้นคือ แม่ครู พ่อครู อาจารย์ผู้ประกอบพิธีกรรม หรือผู้นำพาทำพิธีกรรม เจ้าภาพ ญาติเจ้าภาพ และผู้ร่วม (บริวาร) และบุคคลทั่วไปที่เดินทางมาเพื่อร่วมในพิธีกรรม และเริ่มไหว้ครูด้วยการยกขันดอกไม้ให้แก่ครูบาอาจารย์ แสดงออกทางกาย และพฤติกรรมที่อ่อนโยน การไหว้ พฤติกรรมนี้แสดงออกซึ่งความกตัญญู กตเวที ที่ลูกศิษย์พึ่งมีต่อครูบาอาจารย์ โดยจะเห็นได้จากการยกขัน ดอกไม้ธูปเทียน      พร้อมทั้งผ้าไหม เสื้อผ้า สไบ เงิน ยกขอขมาต่อบิดามารดา จิตพฤติกรรมนี้แสดงออกมาถึงความกตัญญู กตเวทีที่ลูกพึ่งกระทำต่อพ่อแม่ ซึ่งชาวกูย นอกจากนี้ยังเกี่ยวกับสมาธิ หรือภาวนา หมายถึง ทำใจให้สงบ ทำใจให้ดี ทำใจให้นิ่งและยังประกอบด้วยหลักบุญกิริยาวัตถุ ๓ ข้อ คือ ทาน การให้ การสละ การแผ่เมตตา การรักษาศีลในการสวดมนต์จิตของผู้เข้าพิธีกรรมนั้นจะรวมกันเป็นหนึ่ง ตั้งใจ มีสมาธิมาก และรวมกันเป็นหนึ่งในการที่จะร่วมกันประกอบพิธีแกลมอนี้ เช่น การให้ความเคารพ ยำเกรง เชื่อในอานุภาพและความศักดิ์สิทธิ์นั้น การภาวนา หรือ การทำให้เจริญ ทำให้มากในการกุศล หรือความดีงามต่าง ๆ

 

 Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕