หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » อุมารินทร์ เลิศสหพันธ์
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๑ ครั้ง
วิเคราะห์จิตอาสาเชิงพุทธที่ปรากฏในการทำงานของสมาคมสตรีอาเซียน จังหวัดกาฬสินธุ์
ชื่อผู้วิจัย : อุมารินทร์ เลิศสหพันธ์ ข้อมูลวันที่ : ๐๒/๐๔/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  โสวิทย์ บำรุงภักดิ์
  พระโสภณพัฒนบัณฑิต
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาแนวคิดและหลักการเรื่องจิตอาสาในสังคมไทยในปัจจุบัน (๒) เพื่อศึกษาสภาพการทำงานจิตอาสาของสมาคมสตรีอาเซียนจังหวัดกาฬสินธุ์ (๓) เพื่อวิเคราะห์จิตอาสาที่ปรากฏในการทำงานของสมาคมสตรีอาเซียนจังหวัดกาฬสินธุ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และเป็นการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือวิจัยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดเรื่องจิตอาสาในพระพุทธศาสนาเริ่มตั้งแต่หลังพระพุทธเจ้าตรัสรู้ แล้วทรงพิจารณาเห็นว่าเหล่าเวไนยสัตว์ยังพอจะเข้าใจธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ได้ จึงได้ส่งพุทธสาวกจำนวน ๖๐ รูปออกไปเผยแผ่ธรรมในทิศทั้งแปด ส่วนจิตอาสาในสังคมไทยเริ่มตั้งแต่เกิดสินามิครั้งใหญ่ในปลายปี ๒๕๔๗ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดจิตอาสา คือมีการออกไปช่วยเหลือเกื้อกูลผู้ประสบภัยพิบัติ และผู้ได้รับความทุกข์ยากลำบากจากเหตุการณ์ตั้งแต่ครั้งนั้นจนถึงปัจจุบัน

สมาคมสตรีอาเซียนกาฬสินธุ์ เป็นการรวมกลุ่มของสตรีในจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยได้มองเห็นภัยพิบัติ ความทุกข์ยากลำบาก ความยากไร้ และปัญหาต่างๆ ของคนในชุมนและกลุ่มคนที่จรมาทำงานและอาศัยอยู่ในอำเภอต่างๆ ของจังหวัดกาฬสินธุ์ จึงได้ริเริ่มทำโครงการและกิจกรรมต่างๆ ด้วยการออกไปช่วยเหลือเกื้อกูลแก่เด็ก เยาวชน คนสูงวัย ในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ กิจกรรมสำคัญ ได้แก่ ผูกจิตวัยใสรักอย่างไรไม่ให้เสี่ยง วัยรุ่นกับการดำเนินชีวิตวิถีพุทธ การสร้างบ้านคนจน การช่วยเหลือคนพิการ การบริจาคเครื่องอุปโภคบริโภคและสาธารณประโยชน์หลายแห่งในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์

จิตอาสาเชิงพุทธที่ปรากฏในการทำงานของสมาคมสตรีอาเซียนจังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วยจิตอาสาที่ตั้งอยู่บนหลักของการแบ่งปัน หลักปิยวาจา ประพฤติตนเป็นประโยชน์ มีการวางตนในสมาคมอย่างเหมาะสม จริงใจ ร่วมมือกันทำงานทุกกิจกรรม มีความอดทนอดกลั้นต่อสิ่งที่มากระทบจิตใจ มีความระลึกถึงกัน และชักชวน เชิญชวนกันทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อสังคมอยู่เสมอจนเข้าใจร่วมกันว่าเป็นการปฏิบัติธรรมและกลายเป็นพฤติกรรมที่ดีงามของสมาคมสตรีอาเซียนจนทุกวันนี้

Download

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕