หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระธวัช ธนิสฺสโร (อินทะไชย)
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๕ ครั้ง
การศึกษาชีวิตและงานการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระภาวนาวิสุทธาจารย์(ทองใบ ปภสฺสโร)(๒๕๕๐)
ชื่อผู้วิจัย : พระธวัช ธนิสฺสโร (อินทะไชย) ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๐๗/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาบาง เขมานนฺโท
  รศ. อุดม บัวศรี
  ดร.ประยูร แสงใส
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๐ / มีนาคม / ๒๕๕๐
 
บทคัดย่อ

    วิทยานิพนธ์เรื่อง การศึกษาชีวิตและงานการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระภาวนาวิสุทธาจารย์(ทองใบ ปภสฺสโร) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชีวิตและผลงาน เทคนิควิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระภาวนาวิสุทธาจารย์ และเพื่อศึกษาอิทธิพลคำสอนและงานการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระภาวนาวิสุทธาจารย์ที่มีต่อสังคมและการนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยการศึกษาข้อมูลจากเอกสารคือคัมภีร์พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีและฉบับแปล ตลอดถึงเอกสารที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและงานของพระภาวนาวิสุทธาจารย์ทุกเล่มทุกประเภท ตำราวิชาการ ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลจากภาคสนามโดยการศึกษาที่วัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม) บ้านนาหลวง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งเน้นวิจัยทางเอกสารและรวบรวมข้อมูลในพื้นที่การวิจัย จากนั้นนำข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารและข้อมูลจากภาคสนามมาวิเคราะห์หาข้อสรุปและข้อเสนอแนะผลจากการศึกษาวิจัยพบว่า พระภาวนาวิสุทธาจารย์ (ทองใบ ปภสฺสโร) ท่านเป็นลูกชาวนาอนาคตก็คือกรรมกร ชาวไร่ชาวนาต่อไป แต่ด้วยแรงผลักดันโดยอุปนิสัยเป็นคนเรียบร้อย ใฝ่ธรรม จึงได้เข้ามาศึกษาบวชเรียนในพระพุทธศาสนา และได้แรงดลบันดาลใจจากพระอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบหลายท่านจากการได้ศึกษาอบรมในสำนักของท่าน คือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์, พระพรหมมังคลาจารย์(ปัญญานันทภิกขุ) วัดชลประทานรังสฤษฏ์, พระธรรมโกศาจารย์(พุทธทาสภิกขุ) วัดสวนโมกขพลาราม, พระราชนิโรธรังษี (เทสก์ เทสรังสี) วัดหินหมากเป้ง, พระโพธิญาณเถระ(ชา สุภทฺโท) วัดหนองป่าพง, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร, หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง,

ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยหลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล, หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต วัดภูจ้อก้อ, หลวงปู่ภัททันตะ อาสภมหาเถระวิเวกอาศรม เป็นต้น ทำให้ท่านมีมานะและใฝ่ธรรมเป็นชีวิตจิตใจท่านมีบุคลิกภาพที่น่าเลื่อมใส คือ เป็นผู้มีเมตตาธรรม มีกิริยามารยาทเรียบร้อย สง่า องอาจ
พูดจาไพเราะ น่าฟัง มีความเห็นกว้างไกล พูดตรงไปตรงมาปากกับใจตรงกัน พูดจริงทำจริง อ่อนน้อมถ่อมตน
ไม่ถือตัวด้านปฏิปทาของท่านคือ การถือธุดงควัตรในการอยู่ป่า การถือผ้าไตรจีวร การเที่ยวบิณฑบาตเป็น
วัตร ฉันมื้อเดียว ฉันในบาตร วัตรปฏิบัติสำหรับผู้มาเยือน ท่านทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี โดยถือคติว่า
แบบอย่างที่ดี ดีกว่าคำสอน ทำอย่างไรก็สอนอย่างนั้น สอนอย่างไรก็ทำอย่างนั้น ท่านอยู่ในปฏิปทาที่น่า
เลื่อมใสทุกอิริยาบถ จึงทำให้ศิษยานุศิษย์เกิดความศรัทธาและปฏิบัติตามแนวทางการสอนของท่านอย่างไม่
สงสัยท่านมีอุดมการณ์เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา คือ เพื่อตอบสนองผลงานของพระพุทธเจ้าเพื่อสืบต่อกิจการของการเผยแผ่ธรรมวินัยหรือศีลธรรม เพื่อยึดถืออริยธรรมให้ตั้งมั่นอยู่ชั่วนิรันดร เพื่อเดินตามรอยยบาทของพระศาสดา เพื่อทำตามหน้าที่ของพระสงฆ์ผู้สืบเชื้อสายสันติวงศ์ เพื่อฟื้นฟูธรรมวินัยหรือศีลธรรมให้รุ่งเรืองถาวรตลอดไป เพื่อเกื้อกูลประโยชน์สุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพื่ออนุเคราะห์กุลบุตรกุลธิดาชาวพุทธให้รู้คุณค่าของพระศาสนา เพื่อปลูกฝังจิตใจให้มีธรรมวินัย นิสัยดี รักสงบ และเคารพ กฎหมาย เพื่อให้รู้แจ้งทุกข์อันเกิดจากกาม โทษของกาม และหาทางออกจากกามด้านเทคนิคการเผยแผ่พระพุทธศาสนานั้น ท่านดำเนินตามอย่างของพระพุทธเจ้า คือ เริ่มการสอนจากเรื่องง่าย ๆ เรื่องใกล้ตัวไปสู่เรื่องยากและกล่าวลุ่มลึกไปตามลำดับ แต่เทคนิคที่เป็นจุดเด่นของท่านคือการประยุกต์หลักธรรมคำสอนให้เข้าใจง่าย สอนตามอัธยาศรัย เพื่อให้เหมาะกับจริตนิสัยของผู้ฟัง และได้นำคำสอนของท่านไปปรับประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตแบบพึ่งพาตนเองได้ อยู่ร่วมกับธรรมชาติและรู้จักการอนุรักษ์ธรรมชาติ ซึ่งจะทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างมีความสุข
ผลสำเร็จจากการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระภาวนาวิสุทธาจารย์นี้เกิดจากปัจจัยสำคัญ ๔ ประการ คือ ๑.บุคลิกภาพ ๒.ปฏิปทา ๓.มีอุดมการณ์เพื่อพระพุทธศาสนา ๔.มีเทคนิคและวิธีการเผยแผ่
พุทธธรรมปัจจัยเหล่านี้ มีส่วนที่ทำให้ประสบความสำเร็จในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี มิใช่
เฉพาะพระภาวนาวิสุทธาจารย์เท่านั้นที่ประสบความสำเร็จในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้ หากบุคคลใดมี
ปัจจัยดังกล่าวแล้วนี้ก็ย่อมจะประสบความสำเร็จได้เช่นเดียวกัน ซึ่งสามารถเอาเป็นแบบอย่างในการเผยแผ่
พระพุทธศาสนาให้เจริญสืบต่อไป
Download :  255027.pdf
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕