หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาสุนันท์ จนฺทโสภโณ (ดิษฐ์สุนนท์)
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๐ ครั้ง
การศึกษาคำสอนเรื่องไตรลักษณ์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท(๒๕๕๐)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาสุนันท์ จนฺทโสภโณ (ดิษฐ์สุนนท์) ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๐๗/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูศรีปริยัติสุนทร
  พระมหาบาง เขมานนฺโท
  ดร.ประยูร แสงใส
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๐ / มีนาคม / ๒๕๕๐
 
บทคัดย่อ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา หลักคำสอนเรื่องไตรลักษณ์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท และประโยชน์ของหลักคำสอนเรื่องไตรลักษณ์ ในการแก้ปัญหาชีวิตในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การวิจัยจากเอกสาร (DocumentaryResearch) ข้อมูลปฐมภูมิ(Primary Source)ได้แก่ พระไตรปิฎก ข้อมูลทุติยภูมิ (SecondarySource) ได้แก่ พุทธธรรม รวมถึงเอกสารหรือตำราทางวิชาการอื่นๆ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

     จากการวิจัยครั้งนี้ได้พบว่า สิ่งทั้งปวงทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมนั้น ล้วนตกอยู่ภายใต้กฎของไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะมีการเกิดขึ้น (อุปาทะ) ฐิติ (ตั้งอยู่)ภังคะ (ดับไป) แต่สาเหตุที่ทำให้บุคคลยังไม่เข้าใจในเรื่องของไตรลักษณ์อย่างแท้จริง เพราะมีอวิชชาและสิ่งที่มาปิดบัง ไตรลักษณ์เอาไว้ จนทำให้ยังไม่เห็นหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ในเรื่องไตรลักษณ์ทั้ง ๓ อย่างต่อไปนี้ คือ ๑. สันตติ ปิดบัง อนิจจลักษณะ ๒. อิริยาบถ ปิดบังทุกขลักษณะ๓. ฆนสัญญา ปิดบัง อนัตตลักษณะ ที่เป็นความจริงของสังขารคือ ขันธ์ ๕ ซึ่งได้แก่ รูป เวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อบุคคลได้ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน วิปัสสนา หรือปัญญาก็จะเจริญขึ้น และเมื่อปัญญาเกิดขึ้น อวิชชาก็จะดับไป จากนั้น เราก็สามารถมองเห็นธรรมชาติที่แท้จริงของสิ่งทั้งหลาย
ด้วยเหตุนี้ การรู้แจ้งในไตรลักษณ์ จึงนำไปสู่ความหลุดพ้น (วิมุตฺติ) ความบริสุทธิ์ (สุทฺธิ) ปัญญา(ปญฺญา) สันติ(สนฺติ) และความดับทุกข์ (นิพฺพาน) ซึ่งเป็นจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา นี้เป็นเหตุผลสำคัญที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสเรียกคำสอนเรื่องไตรลักษณ์ว่า “พหุลานุสานี” คือ
คำสั่งสอนที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนมากที่สุด
Download :  255026.pdf

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕