หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอธิการนพพร กิตฺติสาโร (ศรีธนปัญญากุล)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๕ ครั้ง
การวิเคราะห์แนวคิดขณิกวาทในปรัชญามาธยมิก
ชื่อผู้วิจัย : พระอธิการนพพร กิตฺติสาโร (ศรีธนปัญญากุล) ข้อมูลวันที่ : ๑๙/๐๓/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  จักรพรรณ วงศ์พรพวัณ
  จรัส ลีกา
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๗ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

 

               การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดขณิกวาทในปรัชญามหายาน ๒) เพื่อศึกษาแนวคิดขณิกวาทในปรัชญามาธยมิก และ ๓) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดขณิกวาทในปรัชญา  มาธยมิก การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยในเชิงเอกสาร (Documentary Research) โดยการเก็บข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิและเอกสารทุติยภูมิ แล้วจึงนำข้อมูลนั้นมาพรรณาวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่า

๑. แนวคิดขณิกวาทในปรัชญามหายาน นั้นมีแนวคิดที่แตกต่างกัน คือ ไวภาษิกะ มีแนวคิดว่า องค์ประกอบพื้นฐานของโลกและชีวิตคือ ธรรม นิกายเสาตรานติกะ เชื่อว่าความจริงมีสองอย่างคือวัตถุกับจิตใจ ทุกอย่างอนิจจัง ไม่เที่ยงทั้งภาวะและอภาวะ โลกและชีวิตคืออนุกรมแห่งความเปลี่ยนแปลง นิกายโยคาจาร คำว่าโยคาจาร แปลว่า การปฏิบัติโยคะหรือบำเพ็ญเพียร เป็นการควบคุมร่างกายและจิตใจโดยการทำสมาธิ นิกายมัธยมิก นิกายแห่งทางสายกลาง ตั้งขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๗ ท่านคุรุนาคารชุนเป็นผู้ก่อตั้ง โดยได้อรรถาธิบายพุทธมติ ด้วยระบบวิภาษวิธี

 

๒. ขณิกวาทในปรัชญามาธยมิก คือแนวคิดของความเปลี่ยนแปลงในทุกสรรพสิ่งเกิดดับทุกขณะ ตามลำดับความสืบทอดแห่งเหตุปัจจัยที่แท้จริง เรียกว่าสันตานวาท (ทฤษฎีว่าด้วยความสืบเนื่อง) ทุกสรรพสิ่ง หรือแม้แต่จิตเพียงอย่างเดียวเป็นขณิกะ พระนาคารชุนได้สร้างหลักทฤษฎีเกี่ยวกับศูนยตาขึ้น เพื่อที่จะอธิบายหลักปจจยการ และอนัตตา ด้วยวิภาษวิธีให้ถึงแก่นแท้ตามหลักปฏิจจสมุปบาท
สู่จุดมุ่งหมายสูงสุดคือ นิรวาณ


๓. วิเคราะห์แนวคิดขณิกวาทในปรัชญามาธยมิกนั้นแสดงให้เห็นว่า สิ่งต่างๆทั้งวัตถุและจิตล้วนแต่ดำเนินไปตามเหตุปัจจัยในแต่ละขณะ ทุกสรรพสิ่งต้องเปลี่ยนแปลงไปเป็นกระแส ไม่มีอะไรคงทนถาวรอยู่ได้แม้ชั่วขณะเดียว (ขณิกทัศนะ) สิ่งทั้งหลายล้วนอาศัยซึ่งกันและกันตามเหตุตามปัจจัย (ปฏิจจสมุปบาท) ธรรมชาติของสรรพสิ่งก็เพียงความว่างเปล่า การเข้าถึงขณิกวาทคือการเข้าถึงซึ่งความไม่ประมาทในการดำเนินดำรงอยู่อย่างมีสติ ระลึกรู้ในทุกขณะรวมถึงการรู้แจ้งขณิกทัศนะอย่างถูกต้องนั้นต้องอาศัยภาวนามยปัญญาพิจารณาให้เห็นสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง จนถึงสภาวะของความว่าง คือว่างจากกิเลสตัณหา และว่างจากการพรรณนาความจริงขั้นปรมัตถ์ สู่ความหลุดพ้นสูงสุด คือ (นิรวาณ)

 

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕